กักตัว 14 วัน ไปญี่ปุ่น กลับมาควรทำอย่างไร พร้อมแจกคู่มือไว้ดูแลตัวเอง

Meiji Step RakuRaku Cube LP R1
Meiji Step RakuRaku Cube LP R2

โคโรน่าไวรัส

ช่วงนี้การระบาดของ โควิด 19 นั้นเพิ่มมากขึ้นในญี่ปุ่นและทัั่วโลก หลายคนที่เททริปไม่ได้เมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่นเยอรมัน, จีน(รวม ฮ่องกง, มาเก๊า, ไต้หวัน) สิงคโปร์ , เกาหลีใต้, อิตาลี อิหร่าน และฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อกลับมาถึงประเทศไทยจึงควรทำการกักตัวเฝ้าระวังโรค 14 วันเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น วันนี้เรานำข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรค พร้อมคู่มือมาฝาก

1ข้อแนะนำหลังการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง

1. ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดกรองผู้เดินทาง และมาตรการป้องกันควบคุมโรคของ กระทรวงสาธารณสุข หากรู้สึกไม่สบายให้แจ้งเจ้าหน้าที่คัดกรองที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ทันที

2. สังเกตอาการตนเอง วัดไข้ตนเองด้วยปรอทวัดไข้ทุกวัน จนครบ 14 วัน งดการออกไปในที่ชุมชน สาธารณะโดยไม่จําเป็น งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ํา ผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม เป็นต้น และงด การพูดคุยกับผู้อื่นในระยะใกล้กันเกินกว่า 1 เมตร

3. งดการไปร่วมกิจกรรมที่มีคนจํานวนมาก งดการเข้าประชุม การไปสถานที่ที่คนพลุกพล่าน เช่น ตลาด ห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่พักอาศัยเป็นหลัก

4. สำหรับผู้ที่เดินทำงกลับมา และไม่ได้มีอาการป่วย ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรับกำรตรวจหาเชื้อ เนื่องจากส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบเชื้อในระยะที่ยังไม่แสดงอาการ และอาจทําให้เกิดความเข้าใจ ผิดว่าไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เมื่อมีอาการป่วยในภายหลัง

5. หลังกลับจำกพื้นที่มีกำรระบาด ภายใน 14 วัน หากมีอาการป่วย ไข้ไอ จาม มีน้ํามูก เจ็บคอ ให้ สวมหน้ากากอนามัย หากมีอาการหอบ หรือหายใจลําบาก ควรรีบไปพบแพทย์พร้อมทั้งแจ้งประวัติ การเดินทาง

6. หากพบแพทย์และได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อในครั้งแรก แต่มีอาการป่วยมากขึ้น ขอให้ไปพบแพทย์อีกครั้ง เนื่องจากการเก็บตัวอย่างครั้งแรกอาจเร็วเกินไปจึงทําให้ไม่พบเชื้อได

2คำแนะนำสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอำศัย

ลักษณะที่พักอาศัยสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน

  • สามารถแยกห้องนอน ห้องน้ำของผู้ป่วยและสมาชิกในบ้านได้
  • มีอากาศที่ถ่ายเทดี
  • มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทั้งของผู้เดินทางกลับและผู้ที่อาศัยร่วมบ้าน เช่น หน้ากากอนามัย สบู่ เจล แอลกอฮอล์ ถุงมือ
  • สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลได้ดีและเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวกด้วยพาหนะส่วนบุคคล
  • ทำความสะอาดบริเวณที่ผู้เดินทางกลับพัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบ ๆ ตัวของผู้ป่วย รวมถึงห้องน้ำ ด้วย น้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์(น้ายาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้า 99)

  • การปฏิบัติตัวระหว่างสังเกตอาการที่บ้าน/ที่พักเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ

  • ควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกบ้าน ไม่เดินทางไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเดินทางกลับจากพื้นที่ระบาด
  • รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
  • ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้น อย่างน้อย 60%
  • สวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้านประมาณ 1-2 เมตรหรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ
  • การทิ้งหน้ากากอนามัย ใช้วิธีพับ ม้วน ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
  • ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม ทิ้งทิชชู่ในถังที่มีฝาปิด หรือปิดถุงขยะทันที
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนูฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่ อุณหภูมิ 60-90 °C

  • วิธีกำรสังเกตอาการ ณ ที่พักอำศัยและแนวทางปฏิบัติเมื่อมีอาการป่วย

    สังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจ กรณีมีปรอทวัดไข้แนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวันเช้าและเย็น

    1) อาการไข้ ได้แก่

  • วัดอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือ
  • มีอาการสงสัยว่ามีไข้ ได้แก่ ตัวร้อน ปวดเนื้อปวดตัว หนาวสั่น
  • 2) อาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ น้ำมูกเจ็บคอ หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลำบาก

    สำหรับใครที่อยากได้รายละเอียด โหลดอ่านได้ที่นี่

    ข้อแนะนำหลังการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงแบบละเอียด

    คำแนะนำสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอำศัย

    ข้อสรุป

    เพื่อความไม่ประมาท และไม่ให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งในการแพร่เชื้อผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสียงควรจะทำการกักตัวให้ได้ตามที่เวลากำหนด และสำหรับผู้ที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางก็ควรเลื่อนเวลาออกไปในช่วงเวลาที่โรคคลี่คลาย

    Meiji Step RakuRaku Cube LP R3
    Meiji Step RakuRaku Cube LP R4
    Meiji Step RakuRaku Cube LP R5
    Meiji Step RakuRaku Cube LP R6

    กรณีฉุกเฉิน

    | Emergency
    • Police

      110

    • Ambulance

      119

    • AMDA International Medical Information Center

      03-6233-9266

    • สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว

      090-4435-7812

    • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

      090-1895-0987

    • สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ

      090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515

    Meiji Step RakuRaku Cube LP R7