รู้จัก มันจู (Manju) : หมั่นโถวญี่ปุ่น คืออะไร มีแบบไหนบ้าง

มันจู (Manju) คืออะไร

มันจู ทำจากแป้งสาลี ห่อไส้ถั่วแดงด้านใน แล้วนำไปนึ่งจนสุก รับอิทธิพลมาจากจีนจึงมีลักษณะคล้ายหมั่นโถว นิยมทานคู่กับน้ำชา แบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งต่างกันทั้งเนื้อแป้งและตัวไส้ ดังนี้

มันจูสีน้ำตาล (Cha manju)

มันจู

มันจูชนิดนี้แป้งจะเป็นสีน้ำตาล เนื้อแป้งแน่นและร่วน เพราะใช้น้ำตาลทรายแดงในการทำ

ซากะมันจู (Sakamanju)

มันจู

แป้งสีขาวเนื้อนุ่ม เกิดจากการหมักแป้งกับเหล้าหวาน (ซากะมาจากคำว่าเหล้า) ทำให้สุกด้วยการนึ่ง

คุริมันจู (Kuri manju)

มันจู

คุริ แปลว่า เกาลัด ไส้ด้านในเป็นชิโระอัง (ถั่วขาวกวน) และเกาลัด

มิซึมันจู (Mizu manju)

มันจู

มิซึ แปลว่าน้ำ จึงหมายถึงมันจูสีใสคล้ายน้ำ ทำจากแป้งต้นคุซึหรือแป้งท้าวยายม่อม เนื้อเหนียวนุ่ม ด้านในอาจเป็นไส้ถั่วแดง เกาลัด และอื่นๆ เป็นของขึ้นชื่อของเมืองโอคากิ จังหวัดกิฟุ

โจโยมันจู (Joyo manju)

มันจู

เปลือกทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมมัน ในสมัยก่อนใช้เป็นของอวยพรในโอกาสต่างๆ เนื่องจากทำจากน้ำตาลและถั่วแดงอย่างดีราคาแพง

โมมิจิมันจู

มันจู

มันจูที่ทำให้สุกด้วยการย่างในพิมพ์รูปใบเมเปิ้ล เป็นของขึ้นชื่อประจำจังหวัดฮิโรชิม่า

ออนเซ็นมันจู

มันจู

ออนเซ็นมันจู คือมันจูที่ใช้น้ำจากออนเซ็นเป็นส่วนผสมหรือใช้ไอน้ำจากออนเซ็นในการนึ่งให้สุก ขายตามแหล่งออนเซ็น บางครั้งอาจพิมพ์ลายออนเซ็นไว้ด้วย

Kintetsu Line LP R3

กรณีฉุกเฉิน

| Emergency
  • Police

    110

  • Ambulance

    119

  • AMDA International Medical Information Center

    03-6233-9266

  • สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว

    090-4435-7812

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

    090-1895-0987

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ

    090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515