กักตัว 14 วัน ไปญี่ปุ่น กลับมาควรทำอย่างไร พร้อมแจกคู่มือไว้ดูแลตัวเอง

K1-banner 2024 SEP

โคโรน่าไวรัส

ช่วงนี้การระบาดของ โควิด 19 นั้นเพิ่มมากขึ้นในญี่ปุ่นและทัั่วโลก หลายคนที่เททริปไม่ได้เมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่นเยอรมัน, จีน(รวม ฮ่องกง, มาเก๊า, ไต้หวัน) สิงคโปร์ , เกาหลีใต้, อิตาลี อิหร่าน และฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อกลับมาถึงประเทศไทยจึงควรทำการกักตัวเฝ้าระวังโรค 14 วันเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น วันนี้เรานำข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรค พร้อมคู่มือมาฝาก

1ข้อแนะนำหลังการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง

1. ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดกรองผู้เดินทาง และมาตรการป้องกันควบคุมโรคของ กระทรวงสาธารณสุข หากรู้สึกไม่สบายให้แจ้งเจ้าหน้าที่คัดกรองที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ทันที

2. สังเกตอาการตนเอง วัดไข้ตนเองด้วยปรอทวัดไข้ทุกวัน จนครบ 14 วัน งดการออกไปในที่ชุมชน สาธารณะโดยไม่จําเป็น งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ํา ผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม เป็นต้น และงด การพูดคุยกับผู้อื่นในระยะใกล้กันเกินกว่า 1 เมตร

3. งดการไปร่วมกิจกรรมที่มีคนจํานวนมาก งดการเข้าประชุม การไปสถานที่ที่คนพลุกพล่าน เช่น ตลาด ห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่พักอาศัยเป็นหลัก

4. สำหรับผู้ที่เดินทำงกลับมา และไม่ได้มีอาการป่วย ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรับกำรตรวจหาเชื้อ เนื่องจากส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบเชื้อในระยะที่ยังไม่แสดงอาการ และอาจทําให้เกิดความเข้าใจ ผิดว่าไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เมื่อมีอาการป่วยในภายหลัง

5. หลังกลับจำกพื้นที่มีกำรระบาด ภายใน 14 วัน หากมีอาการป่วย ไข้ไอ จาม มีน้ํามูก เจ็บคอ ให้ สวมหน้ากากอนามัย หากมีอาการหอบ หรือหายใจลําบาก ควรรีบไปพบแพทย์พร้อมทั้งแจ้งประวัติ การเดินทาง

6. หากพบแพทย์และได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อในครั้งแรก แต่มีอาการป่วยมากขึ้น ขอให้ไปพบแพทย์อีกครั้ง เนื่องจากการเก็บตัวอย่างครั้งแรกอาจเร็วเกินไปจึงทําให้ไม่พบเชื้อได

2คำแนะนำสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอำศัย

ลักษณะที่พักอาศัยสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน

  • สามารถแยกห้องนอน ห้องน้ำของผู้ป่วยและสมาชิกในบ้านได้
  • มีอากาศที่ถ่ายเทดี
  • มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทั้งของผู้เดินทางกลับและผู้ที่อาศัยร่วมบ้าน เช่น หน้ากากอนามัย สบู่ เจล แอลกอฮอล์ ถุงมือ
  • สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลได้ดีและเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวกด้วยพาหนะส่วนบุคคล
  • ทำความสะอาดบริเวณที่ผู้เดินทางกลับพัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบ ๆ ตัวของผู้ป่วย รวมถึงห้องน้ำ ด้วย น้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์(น้ายาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้า 99)

  • การปฏิบัติตัวระหว่างสังเกตอาการที่บ้าน/ที่พักเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ

  • ควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกบ้าน ไม่เดินทางไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเดินทางกลับจากพื้นที่ระบาด
  • รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
  • ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้น อย่างน้อย 60%
  • สวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้านประมาณ 1-2 เมตรหรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ
  • การทิ้งหน้ากากอนามัย ใช้วิธีพับ ม้วน ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
  • ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม ทิ้งทิชชู่ในถังที่มีฝาปิด หรือปิดถุงขยะทันที
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนูฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่ อุณหภูมิ 60-90 °C

  • วิธีกำรสังเกตอาการ ณ ที่พักอำศัยและแนวทางปฏิบัติเมื่อมีอาการป่วย

    สังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจ กรณีมีปรอทวัดไข้แนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวันเช้าและเย็น

    1) อาการไข้ ได้แก่

  • วัดอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือ
  • มีอาการสงสัยว่ามีไข้ ได้แก่ ตัวร้อน ปวดเนื้อปวดตัว หนาวสั่น
  • 2) อาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ น้ำมูกเจ็บคอ หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลำบาก

    สำหรับใครที่อยากได้รายละเอียด โหลดอ่านได้ที่นี่

    ข้อแนะนำหลังการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงแบบละเอียด

    คำแนะนำสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอำศัย

    ข้อสรุป

    เพื่อความไม่ประมาท และไม่ให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งในการแพร่เชื้อผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสียงควรจะทำการกักตัวให้ได้ตามที่เวลากำหนด และสำหรับผู้ที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางก็ควรเลื่อนเวลาออกไปในช่วงเวลาที่โรคคลี่คลาย

    กรณีฉุกเฉิน

    | Emergency
    • Police

      110

    • Ambulance

      119

    • AMDA International Medical Information Center

      03-6233-9266

    • สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว

      090-4435-7812

    • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

      090-1895-0987

    • สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ

      090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515