โชยุ (Shoyu) หรือซอสถั่วเหลือง คือหนึ่งในเครื่องปรุงประจำครัวญี่ปุ่น คล้ายซีอิ๊ว แต่จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารแทบทุกชนิด ทำน้ำซุป รวมถึงใช้เป็นน้ำจิ้มอีกด้วย
ส่วนผสมของโชยุคือ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี น้ำ และเกลือ โดยจะหมักถั่วเหลืองกับข้าวสาลีด้วยเชื้อโคจิ เติมน้ำและเกลือ หมักไว้จนได้ที่จึงบรรจุลงขวด
โชยุแบ่งออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
โชยุแบบเข้ม (Koikuchi shoyu) เป็นประเภทที่นิยมใช้ปรุงอาหารทั่วไปและใช้เป็นซอสมากที่สุด
โชยุแบบอ่อน (Usukuchi shoyu) หรือโชยุที่สีและรสโชยุอ่อนกว่า มักใช้ทำเมนูต้มหรือทำน้ำสึยุ (Tsuyu)
โชยุแบบทามาริ (Tamari shoyu) หรือแบบเข้มข้น ส่วนผสมเกือบทั้งหมดคือถั่วเหลืองที่หมักนานถึง 1 ปี เหมาะกับการใช้เป็นน้ำจิ้มซูชิและซาชิมิ รวมถึงใช้เป็นซอสราดหน้าอาหารและทาเซมเบ้
โชยุแบบไซชิโคมิ (Saishikomi shoyu) คือโชยุที่ผ่านกระบวนการหมัก 2 ครั้ง ใช้เวลานานเป็น 2 เท่า จึงมีราคาแพง รสชาติเข้มข้นที่สุดในประเภททั้งหมด นิยมใช้เป็นน้ำจิ้มซาชิมิ
โชยุสีขาว (Shiro shoyu) ใช้ข้าวสาลีมากกว่าถั่วเหลือง จึงหมักได้สีอ่อน มักใช้ปรุงน้ำซุปหรืออาหารที่ไม่ต้องการให้เปลี่ยนสี
สึยุ หรือเมนสึยุ (Mentsuyu) คือน้ำซุปดาชิผสมกับโชยุ มิรินและน้ำตาล ใช้ในเมนูประเภทเส้น เช่น อุด้ง โซบะ โซเมง บะหมี่เย็น นอกจากนี้ยังใช้เป็นน้ำจิ้มเทมปุระที่เรียกว่า เทนสึยุ (Tentsuyu) อีกด้วย
เที่ยวโอซาก้า เดือนไหนดี อากาศเป็นไง ครบข้อมูลเตรียมเที่ยวเลย
10/03/2021 | Japan
รีวิว ตึกม่วง ทาเคยะ ปิดกี่โมง มีกี่สาขา ซื้ออะไรดี คำตอบครบจบในที่เดียว
08/04/2020 | Tokyo
ตลาดคุโรมง เที่ยวตลาดปลาโอซาก้า กับ 9 ร้านเด็ด กิน ช้อป ฟินสุดใจ
11/11/2021 | Japan
ร้านอาหาร ชินจูกุ 10 พิกัดอร่อยในย่านเด็ดที่ต้องลอง
07/01/2019 | Japan
เหล้าบ๊วยญี่ปุ่น 7 อันดับ รสเยี่ยม ที่ต้องห้ามพลาด
23/02/2017 | Japan
Police
110
Ambulance
119
AMDA International Medical Information Center
03-5285-8088
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
03-5789-2449
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า
06-6262-9226-7
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ
092-686-8775
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุ๊กกี้ของเราผ่านทาง นโยบายความเป็นส่วนตัว