นาเบะ (Nabe) หรือ หม้อไฟ คืออาหารที่ใส่ผัก เห็ด เนื้อสัตว์ เต้าหู้และเส้นต่างๆ ลงไปต้มในหม้อและทานในหม้อนั้นโดยไม่เปลี่ยนภาชนะ อาจยกลงจากไฟหรือตั้งบนเตาแก๊สขณะรับประทานก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า นาเบะ (鍋) ที่แปลว่าหม้อ
ด้วยความที่นาเบะจะทานร้อนๆ จากหม้อ จึงนิยมทานในครอบครัวหรือหมู่เพื่อนในช่วงฤดูหนาว ทั้งในครัวเรือนและตามร้าน
โยเซนาเบะ (Yosenabe) หรือหม้อไฟรวมมิตร คือนาเบะที่ใส่เครื่องหลายอย่าง ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก เต้าหู้ ลูกชิ้น และอื่นๆ ที่อยากใส่ เป็นอาหารที่ทำง่าย นิยมทานกันเป็นครอบครัวหรือในหมู่เพื่อนฝูง
คำว่า โยเซ (寄せ) แปลว่ารวบรวม โยเซนาเบะจึงทำโดยการใส่ทุกอย่างลงไปต้มในหม้อให้หมด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ไก่ วัว ปลา อาหารทะเล สารพัดผัก เห็ด หรือของดีประจำท้องถิ่นนั้นๆ
มทสึนาเบะ (Motsunabe) คือหม้อไฟเครื่องในหมูหรือวัว มักใส่กะหล่ำปลี กุยช่าย กระเทียม และพริกด้วย น้ำซุปเป็นรสโชยุ โดยนาเบะนี้ต่างจากนาเบะอื่นๆ ตรงที่มทสึนาเบะจะทานในหน้าร้อนด้วย มทสึนาเบะจึงมีแคลอรี่ต่ำ มีวิตามินและคอลลาเจนอยู่เยอะจึงเป็นที่นิยมของผู้หญิงเป็นพิเศษ
มทสึนาเบะเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดฟุกุโอกะและจังหวัดในแถบนั้น เช่น ฮากาตะ ซึ่งจะนิยมใส่เส้นจัมปงอันเป็นเอกลักษณ์ของฮากาตะ
จังโกะนาเบะ (Chankonabe) หมายถึงนาเบะที่ทานกันในหมู่นักซูโม่ เอกลักษณ์คือปริมาณมหาศาล และอุดมไปด้วยโปรตีนที่ให้พลังงาน ส่วนมากมักใส่เนื้อไก่เป็นหลัก
แม้จังโกะนาเบะจะเป็นวัฒนธรรมอาหารของนักซูโม่ แต่ปัจจุบันมีร้านจังโกะนาเบะให้คนธรรมดาอย่างเราได้ลิ้มลองกันด้วย
สำหรับนักซูโม่ที่ต้องยืนสองขาอยู่ในวงให้ได้โดยมือห้ามแตะพื้นจึงจะชนะ สัตว์ที่มี 4 ขาอย่างหมูและวัวจึงถือว่าไม่มงคล จังโกะนาเบะจึงทำจากน้ำซุปกระดูกไก่ ใส่เนื้อไก่ เต้าหู้ ลูกชิ้น ผัก และเห็ด
นักซูโม่มีธรรมเนียมว่ารุ่นน้องจะต้องทำอาหารให้รุ่นพี่ ซึ่งจะทำเป็นหม้อใหญ่ เวลาทานก็ต้องเรียงลำดับจากผู้ใหญ่ไปหาผู้น้อย
คำว่า จังโกะ หมายถึงอาหารของซูโม่ ซึ่งอาจหมายถึงอาหารอะไรก็ได้ เช่น จังโกะวันนี้อาจจะเป็นแกงกะหรี่ จังโกะอีกวันเป็นนาเบะก็ได้ คนที่เป็นเวรทำอาหารจะเรียกว่า จังโกะบัง (Chankoban)
ที่มาของคำว่า จังโกะ มี 2 ทฤษฎี คือเป็นนาเบะที่มีทีมาจากจีน ส่วนอีกทฤษฎีบอกว่า จัง หมายถึงหัวหน้าค่ายที่เป็นเสมือนพ่อ และโกะ หมายถึงลูก การทานด้วยกันจึงเหมือนทานกันพร้อมหน้าครอบครัว
ทั้งนาเบะ ชาบู และสุกี้ต่างต้มในหม้อเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างเล็กน้อยได้แก่ นาเบะจะใส่วัตถุดิบทุกอย่างลงไปต้มให้เดือดปุดๆ สุกี้ยากี้จะผัดเนื้อกับต้นหอมในระดับหนึ่งแล้วใส่วัตถุดิบอื่นๆ ตามด้วยน้ำซุปสีดำลงไปต้ม ชาบูจะต้มน้ำซุปใสกับผัก จุ่มเนื้อลงไปทีละชิ้นแล้วทานกับน้ำจิ้ม
นาเบะบุเกียว คือคำที่ใช้เรียกคนที่คอยคุมหม้อ เช่น ใส่วัตถุดิบตามลำดับขั้นตอน เติมน้ำซุป คอยบอกว่ากินได้หรือยัง และตักแจกจ่ายคนในวง ซึ่งถ้าทำในระดับที่พอดีก็เป็นศรีแก่คนที่กินด้วย แต่ถ้ามากไป คนอื่นก็อาจรำคาญเอาได้
ถึงกับมีศัพท์บัญญัติอีกคำว่า นาเบะโชกุน ซึ่งหมายถึงนาเบะบุเกียวที่จู้จี้เกินไปจนเหมือนยึดอำนาจทุกคน ทั้งๆ ที่แค่จ้วงนาเบะด้วยกันเท่านั้น
เที่ยวโอซาก้า เดือนไหนดี อากาศเป็นไง ครบข้อมูลเตรียมเที่ยวเลย
10/03/2021 | Japan
รีวิว ตึกม่วง ทาเคยะ ปิดกี่โมง มีกี่สาขา ซื้ออะไรดี คำตอบครบจบในที่เดียว
08/04/2020 | Tokyo
ตลาดคุโรมง เที่ยวตลาดปลาโอซาก้า กับ 9 ร้านเด็ด กิน ช้อป ฟินสุดใจ
11/11/2021 | Japan
ร้านอาหาร ชินจูกุ 10 พิกัดอร่อยในย่านเด็ดที่ต้องลอง
07/01/2019 | Japan
เหล้าบ๊วยญี่ปุ่น 7 อันดับ รสเยี่ยม ที่ต้องห้ามพลาด
23/02/2017 | Japan
Police
110
Ambulance
119
AMDA International Medical Information Center
03-5285-8088
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
03-5789-2449
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า
06-6262-9226-7
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ
092-686-8775
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุ๊กกี้ของเราผ่านทาง นโยบายความเป็นส่วนตัว