Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
จากบทความที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่อง ในหลวงเสด็จเยือนญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2506 และพระราชกรณียกิจอันนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศ ซึ่งนอกจากการทอดพระเนตรการดำเนินงานแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจการเจริญสัมพันธไมตรี เยี่ยมเยียนนักเรียนไทย และผู้ที่ปฏิบัติงานในประเทศญี่ปุ่น ในครั้งนั้นได้เสด็จฯเยือน โตเกียว เกียวโต นารา โอซาก้า นาโกย่า กิฟุ ในระหว่างวันที่ 27 พ.ค. – 5 มิ.ย. พ.ศ. 2506 เราจึงขอนำเสนอประมวลภาพพระราชกรณียกิจครั้งนี้จากสำนักพระราชวัง พร้อมบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่อันน่าประทับใจ และหนึ่งในนั้น คืออนุสรณ์ที่ต้องทำให้คนไทยอิ่มเอมใจเมื่อได้พบเห็น
พระราชวังอิมพีเรียล กรุงโตเกียว (Tokyoo Imperial Palace)
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์รวมกับ สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิฮิโรฮิโตและสมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ(ในขณะนั้น) ที่พระราชวังอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ซึ่งเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน ซึ่งภายในพระราชวังจะประกอบไปด้วย พระตำหนัก (宮殿 คีวเด็ง) ของพระราชวงศ์ พิพิธภัณฑ์ในพระองค์, สำนักพระราชวัง, และพระราชอุทยานขนาดใหญ่ แต่เดิมพระราชวังนี้เป็นที่ตั้งของปราสาทเอะโดะ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ โดยได้รับการบูรณะ ปี ค.ศ. 1964 เนื่องจากพระราชวังเดิมถูกระเบิดทำลายลงไปมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งในปัจจุบันเป็นสถานที่ซึ่งมีความงดงามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชื่นชมความงามจากศิลปะกรรมแบบญี่ปุ่น
สวนสาธารณะนารา (Nara park)
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะเสด็จพระราชดำเนินที่ทุ่งโทบิฮิโนะ (Tobihino hill) ภายในสวนสาธารณะนารา (Nara park) และพระราชทานอาหารให้กวาง ซึ่งกวางที่นี่จะเชื่องมากปราศจากความหวาดกลัวมนุษย์ นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนไทยในปัจจุบัน
ทั้งยังทรงเสด็จพระราชดำเนินไปที่วัดโทไดจิ (Todaiji Temple) ซึ่งมีอาณาเขตอยู่ใกล้สวนสาธารณะ ซึ่งเป็นวัดสำคัญของชาวญี่ปุ่น โดยมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ไดบุตสึ (Daibutsu of Nara) ซึ่งสูงถึง 54 ฟุต หนัก 432 ตัน สร้างมากว่า1200 ปี
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
อาคารหลักของวัดเป็นอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอาคารไม้นั้นมีขนาดเพียงแค่ 2 ใน 3 ของอาคารดั้งเดิมเท่าที่สร้างในช่วงแรกเริ่มเท่านั้น
Kyoto Omiya Palace & Sento Imperial Palace
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ร่วมพิธีชงชาเฉพาะพระพักตร์ ซึ่งชงแบบ ยูลาซิงเก ซึ่งใช้ผงชาสีเขียวใส่น้ำร้อน และทรงเสวยพระสุธารส อุทยานแห่งวังเซนโตะ ซึ่งเป็นเขตเชื่อมกับพระราชวังโอมิยา” width=”650″ height=”366″ class=”alignnone size-large wp-image-55133″ />
โดยพระราชวังเซนโต ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังเกียวโตอิมพีเรียล ถูกสร้างขึ้นในปี 1630 ใช้เป็นที่พักหลังการเกษียณของจักรพรรดิ์เรื่อยมา ซึ่งอาคารดั้งเดิมนั้นถูกเผาในปี ค.ศ.1854 จึงได้มีการสร้างประสาทโอมิยะ (Omiya Palace) ขึ้นมาแทน ในปัจจุบันใช้เป็นที่พักของราชวงศ์ระหว่างที่เสด็จมาเกียวโต
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ที่เฉลียงพระตำหนักอุทยานพระราชวังโอมิยาได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงฟุตบอลเคมาริ (Kemari Football) อันเป็นกีฬาเก่าแก่กว่า 1600 ปี ในญี่ปุ่น โดยลูกบอลทำจากหนังกวางมีผู้เล่น4-8 คน ในชุดโบราณ
วัดเบียวโดอิน (Byodoin Temple)
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดเบียวโดอิน (Byodoin Temple) เมืองนารา ซึ่งมีอายุราวพันปี ทรงนมัสการพระประธานภายในวัด และเยี่ยมชม ฟีนิกซ์ ฮอล (Phenix hall) ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อีกทั้งถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ด้านหลังของเหรียญ 10 เยนด้วย
วัดสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบโจโด โดยประกอบไปด้วยสวนซึ่งแสดงถึงดินแดนบริสุทธิ์ต่างอุดมคติในพุทธศาสนา นับเป็นวัดต้นแบบของวัดที่สร้างต่อมา
พระราชวังซูกาคูอิน (Shugakuin Palace)
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ทรงเสวยพระสุธารสบนตำหนักของพระราชวังซูกาคูอิน (Shugakuin Palace) แปลเป็นภาษาไทยก็คล้ายกับพระราชวังไกลกังวล ซึ่งมีอุทยานสวยงามใหญ่โต ทะเลสาบกว้างขวาง มีตำหนักพักร้อน 3 หลังสร้างมานานกว่า 300 ปี โดยพระจักรพรรดิโกมิซูโน
Mount Hiei
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ทรงทอดพระเนตรเขาฮิเอ (Mount Hiei) ซึ่งสูงประมาณ 2782 ฟุตจากระดับน้ำทะเลเพื่อทอดพระเนตรวิวของเมืองเกียวโต แต่ทะเลสาปปีวา ได้ถนัด
Nittaiji Temple (Kakuozan)
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ทรงคล้องสายคล้องพระศอ เครื่องหมายของอุบาสก อุบาสิกา เมื่อครั้งทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองนาโกย่า เยี่ยมชมวัดนิทไทจิ (Nittaiji Temple (Kakuozan)) ซึ่งมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ไทย- ญี่ปุ่น เพราะสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูป 1 พระองค์ เมื่อครั้งสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นสมัยทรงเป็นราชกุมาร นอกจากนี้ ในพ.ศ. 2443 สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคย เสด็จฯ มา ถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ด้วย
Cr: World Tipiṭaka Foundation by Dhamma Society
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระพุทธรูป 1 พระองค์ คือ พระศากยมุนี ซึ่งตั้งโดดเด่นเป็นสง่าในวัดญี่ปุ่น
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ทั้งสองพระองค์ ได้ทรงนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกต้นโพธิ์สองต้นเป็นที่ระลึก วัดนี้มีความหมายในชื่อแปลว่า วัดไทยญี่ปุ่น เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ซึ่งคนไทยที่ไปเที่ยวนาโกย่าต้องห้ามพลาดเชียวล่ะ
ซึ่งต้นโพธิ์ทั้งสองปลูกไว้ที่ฝั่งซ้ายและขวาของพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ด้วย
นับเป็นอนุสรณ์ที่งดงามที่แสดงถึงมิตรไมตรีของไทยและญี่ปุ่นที่ต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน
สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดไม่ได้
ข้าพระพุทธเจ้า ทีมงาน chill chill japan
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
ข้อสรุป
หวังว่าภาพและข้อมูลสถานที่พอสังเขปจะทำให้ใครหลายคนได้ประทับใจ โดยเฉพาะ Nittaiji Temple ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งถ้าใครได้มีโอกาสไปอย่าลืมไปสักการะอนุสรณ์ของพระมหากษัตริย์ไทย ด้วยนะ สำหรับใครที่อยากทราบพระราชกรณียกิจด้านเทคโนโลยี คลิ๊ก ที่บทความภาค 1 ได้เลย
เมื่อครั้ง ในหลวงเสด็จเยือนญี่ปุ่น ตอนที่ 1 สู่ต้นทางการพัฒนา และสายสัมพันธ์สองประเทศ
เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช Chill Chill Japan จึงขอแบ่งปันเรื่องราวความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและญี่ปุ่น ในฐานะมิตรประเทศและนำเสนอภาพ เมื่อครั้ง ในหลวงเสด็จเยือนญี่ปุ่น เพื่อทอดพระเนตรการดำเนินการของอุตสาหกรรมต่างๆ ของญี่ปุ่น เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศไทย