รถไฟในญี่ปุ่นมีกี่แบบ และข้อมูลต้องรู้เกี่ยวกับการขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

08/10/2017 (อัพเดทเมื่อ 26/06/2024)
วันนี้เราขอมาไขข้อข้องใจของหลายคนด้วยการนำสิ่งที่ต้องรู้เมื่อเลือก เดินทางโดย รถไฟญี่ปุ่น มาเสนอ รถไฟในญี่ปุ่นมีกี่แบบ ดูสายรถไฟอย่างไร ควรเลือกโดยสารรถไฟแบบไหน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเวลาขึ้นรถไฟ การกระทำอะไรบ้างที่เป็นข้อห้ามไม่ควรทำเวลาใช้บริการรถไฟ เพราะแม้ขึ้นชื่อว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกสบาย แต่ก็มีหลายสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ เดินทางเมื่อไหร่จะได้ไม่พลาด

รถไฟในญี่ปุ่นมีกี่แบบ เลือกประเภทรถให้เหมาะกับการเดินทาง

เชื่อว่าหลายคนที่สนใจการ เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น คงต้องชื้อพาสเช่น JR PASS เป็นต้น ซึ่งสามารถเลือกขึ้นรถไฟได้หลากหลายประเภท งั้นเราจะมาบอกว่า รถไฟในญี่ปุ่นมีกี่แบบ เพื่อการเลือกการเดินทางที่เหมาะ และประหยัดเวลาที่สุด โดยดูจากชื่อรถอาทิ

รถไฟJR

-普通 (Local): รถไฟที่จอดทุกสถานี ช้าที่สุดในบรรดาทั้งหมด

-快速(Rapid): รถไฟที่จอดน้อยสถานีกว่าแบบ Local เล็กน้อย

-通勤快速 (Commuter Express): ให้บริการเฉพาะในเวลาที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่น หยุดที่สถานีน้อยกว่าแบบ Rapid

-特別快速 (Special Rapid): หยุดน้อยสถานีกว่า Commuter Express

-特急 (Limited Express): เป็นรถไฟที่จอดป้ายน้อยมากถึงจุดหมายรวดเร็วที่สุด มักมีค่าบริการค่อนข้างมาก ต้องเสียค่าสำรองที่นั่ง ผู้ที่ใช้พาสต้องสำรองที่นั่งก่อนใช้บริการ มีการระบุที่นั่งและเลขรถ

-Shinkansen: เป็นรถไฟแบบที่เร็วที่สุด จอดเป็นเมืองๆ ไป ค่าบริการแพงที่สุด ต้องเสียค่าสำรองที่นั่ง ผู้ที่ใช้พาสที่มีสิทธิ์ขึ้นรถต้องสำรองที่นั่งก่อนใช้บริการ มีการระบุที่นั่งและเลขรถ

รถไฟเอกชน หรือท้องถิ่น
-普通 (Local): จอดทุกสถานี มักโชว์คำว่า 各駅停車 “รถไฟขบวนนี้จอดทุกสถานี” ที่ตัวรถไฟ

-準急 (Semi-Express, Local Express): จอดสถานีน้อยกว่าแบบ Local แต่มาถี่กว่า Rapid

-快速 (Rapid): รถไฟแบบนี้จอดสถานีน้อยกว่าแบบ Semi-Express

-急行 (Express): จอดสถานีน้อยกว่าแบบ Rapid

-特急 (Limited Express): เร็วที่สุด มักต้องจ่ายเพิ่มเติม

ขาไปหรือขากลับดูให้ดี

ต่อไปมาดูเรื่องของชานชาลาที่ต้องขึ้นรถไฟกันบ้าง เราต้องทราบว่าชานชาลาที่เราต้องขึ้นรถไฟนั้นไปทางไหน โดยดูได้จากคำว่า For ตามด้วยชื่อสถานีหลัก สถานีเปลี่ยนสาย สถานีสุดทัาย ที่ปรากฏบนป้าย ดังนั้นก่อนขึ้นต้องดูให้แน่ก่อน และควรศึกษาผังรถไฟสายที่จะใช้บริการซึ่งส่วนมากจะมีโบรชัวร์ผังรถไฟแจกทั่วไปถ้าเป็นสายหลักๆ ส่วนมากแต่ละสถานีจะมีป้ายไฟแจ้งเวลาและรถที่กำลังเทียบชานชาลา สามารถคอนเฟิร์มได้ หรือดูตัวอักษรวิ่งข้างรถก่อนขึ้นก็ได้ถ้ามีเวลา

ชานชาลาก็เดียวกัน และรถไฟนั้นอาจไม่ใช่

รถไฟในญี่ปุ่นมีกี่แบบ
Cr: chillchilljapan.com

สำหรับในบางสถานีในหนึ่งชานชาลาอาจมีรถมาเทียบมากกว่าหนึ่งสาย ดังนั้นจึงควรทราบว่ารถที่เราจะขึ้นหน้าตาเป็นอย่างไร แถบสีอะไร เป็นรถไปแบบไหน เมื่อรถมาเทียบชานชาลาก่อนเวลาของรถไฟที่เราจะขึ้นรถคันนั้นอาจเป็นสายอื่น ดังนั้นเช็คให้ดีก่อน ไม่งั้นอาจพลาดยาว

เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น ชื่อเดี๋ยวกัน เช็คให้ดี สถานีไหนกันแน่!

สำหรับบางสถานีรถไฟที่เป็นสถานีหลัก สามารถต่อเชื่อมการเดินทางได้หลากหลายแบบ ชื่อที่เหมือนกันไม่ได้หมายความว่าตำแหน่งการขึ้นรถไฟจะอยู่ที่เดียวกัน คุณจำเป็นต้องทราบว่าคุณต้อง เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น ประเภทไหน สายอะไร ดังนั้นต้องดูป้ายที่บอกทางให้ดีหากยังไม่คุ้นชิน เช่น หากคุณต้องนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินสายกินซ่าเริ่มจากสถานีอุเอโนะ ก็ต้องเข้าเกตรถไฟใต้ดินสายกินซ่า ไม่ใช่เกต JR อุเอโนะ เป็นต้น หรือบางสถานีที่ชื่อเหมือนอาจเป็นสายรถไฟท้องถิ่น สายเอกชน ต้องจำให้ดีว่าเราต้องขึ้นรถไฟแบบไหน บนดิน ใต้ดิน ชินกันเซ็น และสายใด

ห้ามกางร่ม และใช้ไม้เซลลฟี่ บนชานชาลา

 

การห้าม ห้ามกางร่ม และใช้ไม้เซลลฟี่ บนชานชาลาเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัย เพราะอาจไปเกี่ยวโดนสายไฟ รถไฟ หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ระหว่างการใช้รถไฟ

ปิดเสียงโทรศัพท์และงดคุยโทรศัพท์บนรถไฟ

 

ปิดเสียงโทรศัพท์และงดคุยโทรศัพท์บนรถไฟ ข้อนี้ค่อนข้างจริงจังทีเดียว ดังจะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นนั้นจะอ่านหนังสือ เล่นมือถือเงียบๆ ตลอดการเดินทาง

 

ข้อสรุป

การ เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น นับเป็นขนส่งสาธารณะที่สะดวกสบายและคุ้มค่าสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างๆ เราๆ การศึกษารายละเอียดก่อนเดินทางเป็นสิ่งที่ช่วยให้แพลนการเดินทางของคุณนั้นไม่ผิดพลาด สนใจข้อมูลเรื่องพาสและการเดินทางด้วยรถไฟญี่ปุ่นทั้งหลาย ลองดูที่นี่

floating-restaurant-1

รถไฟญี่ปุ่นและข้อมูลพาสต่างๆ

รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถไฟญี่ปุ่นและพาสเด็ดที่คุณห้ามพลาด

Gashapond

Blogger : Gashapond

สาว(ไม่)น้อย ผู้รักใน การถ่ายภาพ ท่องเที่ยว ชิมของอร่อย ซอฟต์ครีม และบ้าเครื่องสำอางชนิดเสพติด ขอทำหน้าที่พาคุณเที่ยว หาโปรเด็ด ให้ทริปญี่ปุ่นของคุณสนุกสบาย ??

504 Posts

สถานที่เที่ยว

| Feature

กรณีฉุกเฉิน

| Emergency
  • Police

    110

  • Ambulance

    119

  • AMDA International Medical Information Center

    03-6233-9266

  • สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว

    090-4435-7812

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

    090-1895-0987

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ

    090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515