เข้า ห้องน้ำญี่ปุ่น ได้ที่ไหนบ้าง
ระหว่างเที่ยวญี่ปุ่นแล้วเกิดอยากเข้าห้องน้ำจะเข้าได้ที่ไหนบ้าง? ขอบอกว่าที่ญี่ปุ่นนั้นมีห้องน้ำสาธารณะในหลายสถานที่ให้เข้ากันได้อย่างสะดวก อาทิ
สำหรับประโยคการถามหาห้องน้ำภาษาญี่ปุ่น ที่รู้ไว้จะสะดวกขึ้นก็คือ
トイレはどこですか。-Toire-wa-Doko-desuka- (โทอิเระ วะ โดโคะ เดสึก๊ะ) ที่แปลว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน
คำว่า Toire โออิเระ มาจากการทับศัพท์คำว่า toilet ในสำเนียงญี่ปุ่นนั่นเอง
ทิชชู่ฟรี ใช้เสร็จทิ้งลงโถ
ข้อดีของห้องน้ำสาธารณะที่ญี่ปุ่นนั้นคือการที่มีทิชชู่ฟรีให้ใช้ ไม่ต้องเสียเงิน ซึ่งทิชชู่ที่ญี่ปุ่นนั้นเมื่อใช้เสร็จคุณอาจพยายามมองหาถังขยะเพื่อทิ้ง ขอบอกว่าไม่ต้องหลังใช้เสร็จให้ทิ้งกระดาษชำระลงโถส้วมแล้วกดได้เลย หากคุณเห็นถังขยะ นั่นคือถังสำหรับทิ้งขยะอื่นๆ หรือผ้าอนามัย ห้ามทิ้งทิชชู่ลงไปนะ
การใช้ห้องน้ำไฮเทคแบบญี่ปุ่น และการอ่านแผงควบคุม
ห้องน้ำญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องความไฮเทค ปัจจุบันส่วนมากในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แผงควบคุมห้องน้ำนั้นจะมีภาษาอังกฤษอธิบายกำกับมากขึ้นทำให้เราไม่ต้องเอา แผงควบคุมการใช้ห้องน้ำนั้นมีทั้งแบบที่ติดอยู่กับตัวโถสุขภัณฑ์ และติดอยู่ที่ผนังทางด้านขวามือ หลังทำธุระก็เลือกกดน้ำทำความสะอาดตามใจ
สำหรับใครที่อยากรู้ว่าแต่ละปุ่มนั้นทำงานอย่างไร เราได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ให้แล้ว
ภาษาญี่ปุ่น | ภาษาอังกฤษ | การใช้งาน |
おしり (โอ-ชิ-ริ) | Spray/REAR | หัวฉีดทำความสะอาดด้านหลัง (ล้างก้น) |
ビデ (บิ-เดะ) | Bidet | หัวฉีดทำความสะอาดด้านหน้า(สำหรับผู้หญิง) |
水勢 (ซุย-เซ) | Water Pressure | ระดับความแรงน้ำ (ปรับด้วยการกด + หรือ -) |
止 (โทะ) | STOP | หยุด |
音姫 (โอ-โตะ-ฮิ-เมะ) | FLUSHING SOUND | เปิดเพลงกลบเสียงขับถ่าย |
流す (นา-งา-สุ) | FLUSHING | ปุ่มกดน้ำ |
乾燥 (คัน-โสะ) | Dry | เป่าแห้ง |
บางแบบอาจไม่ใช่แบบกดแต่เป็นแบบหมุนเพิ่มระดับ ก็ให้สังเกตสัญลักษณ์คือคำที่กำกับ เป็นอันใช้ได้
ปุมกดน้ำมีหลายแบบ
สำหรับปุ่มกดชักโครกนั้นมีหลายแบบ มีทั้งแบบกด หรือ บิดที่โถ หรือปุ่มกดตรงผนัง ไปจนถึงแบบที่ใช้เซ็นเซอร์ที่ต้องใช้มืออัง หรือจะทำงานเมื่อลุกขึ้น(กล่องเซ็นเซอร์อยู่ด้านหลัง) อย่างไรก็ให้สังเกตคำว่า 流す/FLUSH ถ้าไม่มีที่บิดหรือกดที่โถก็กด หรือเอามืออังที่เซ็นเซอร์ที่มีคำนี้ซะ
ปุ่มหนึ่งที่นักท่องเที่ยวมักเข้าใจผิดว่าเป็นปุ่มกดน้ำ คือปุ่มฉุกเฉิน ซึ่งหากไม่มีภาษาอังกฤษกำกับอาจเกิดความสับสน และเมื่อกดก็อาจเกิดความโกลาหลได้ ยังไงก็ดูให้ดี หากปุ่มมีคำว่า 非常 ล่ะก็ห้ามกดถ้าไม่จำเป็น
การเข้าห้องน้ำญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม
ถ้าเจอโถสุขภัณฑ์แบบดังเดิมของญี่ปุ่น เราก็รู้แหละว่าเราต้องนั่งยอง ทว่าที่เมืองไทยเราจะหันหน้าเข้าประตู แต่ที่ญี่ปุ่นเราต้องหันหน้าเข้ากำแพง หรือหันหน้าไปทางส่วนที่ยกขึ้น และทรงตัวดีๆ นะเพราะมันกว้างมากระวังเงิบ
การใช้โถปัสวะชาย
ปุ่มกดน้ำในโถปัสวะในห้องน้ำชายก็มีหมายแบบเช่นกัน ทั้งแบบคันโยก ปุ่มกด และเซ็นเซอร์ หลังจากใช้แล้วก็กดน้ำสังเกตตำแหน่งง่ายๆ อยู่บริเวณใกล้ๆ โถนั่นเอง
ห้องน้ำสาธารณะไม่ไก่กา
ห้องน้ำสาธารณะในญี่ปุ่นนั้นสะอาด หลายที่มีดีไซน์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากๆ ใครที่กลัวห้องน้ำสาธารณะจะสกปรกนั้นต้องเปลี่ยนใจเมื่อมาเจอห้องน้ำที่ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายตามสถานที่ หากไปเจอที่ไหนเด็ดๆ ก็ถ่ายรูปมาอวดเพื่อนได้สบายๆ
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
ห้องน้ำญี่ปุ่นสำหรับคนพิการ หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือนั้นมีขนาดกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันพิเศษ อย่าพิ้นที่เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก ดังนั้นคุณแม่ที่มีลูกไปด้วยก็สามารพใช้ห้องน้ำนี้ได้เช่นกัน ให้สังเกตสัญลักษณ์
ห้องน้ำบางแห่ง มีแผ่นปูพื้นสำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยที่ไม่ต้องเหยียบพื้นนับว่าสะดวกสะบายมากๆ
ล่าสุดยังมีแผนที่จะทำตัวล็อกประตูให้เป็นที่วางของในตัว นับเป็นความคิดสร้างสรรค์ และป้องกันการลืมของได้เป็นอย่างดี
ข้อสรุป
สะดวก หาง่าย ทันสมัย คงเป็นนิยามของห้องน้ำญี่ปุ่นส่วนมาก ความแตกต่างก็นับว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาที่ดีอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่รอการค้นหา ซึ่งเราจะสรรหาเรื่องดีๆ มาฝากอยากแน่นอน
เตรียมตัวเที่ยว เทศกาล ฮานามิ ชมซากุระสไตล์ญี่ปุ่น แบบโปร
รู้เรื่องห้องน้ำแล้ว อยากรู้เรื่องของการชมซากุระ อ่านได้ที่บทความนี้เลย