ประวัติศาสตร์ของ “คินสึงิ (Kintsugi)” งานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิมซึ่งเริ่มเมื่อปี 1972 ศิลปะประเภทนี้สอนผู้คนให้รู้คุณค่าของสิ่งของที่แม้ว่าจะพังไปแล้วก็ไม่ควรจะทอดทิ้งให้ไร้คุณค่า แต่ต้องแสดงออกมาอย่างภาคภูมิใจ
Kintsukuroi คือศิลปะการซ่อมเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่น ที่ซ่อมรอยแตกด้วยแล็กเกอร์ป่นผสมกับทองคำขาวเงินหรือแพลทินัม วันนี้เรามีร้านที่สืบทอดเจตนารมณ์ของคนในอดีตให้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันมาแนะนำค่ะ นั่นคือที่ร้าน Makers’ Base เป็นร้านที่ค่อนข้างใหญ่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโตเกียวเลย มีหลายชั้น และมีงานฝีมือหลายแบบให้เลือกทดลองทำอีกด้วยนะ
ภายในร้านมีจัดสินค้าวางจำหน่ายเช่น กระเป๋าหนัง ต่างหู ที่เป็นงานของทางร้านที่ทำออกมาขายนั้นเอง หากใครสนใจอยากทำกระเป๋าหรือต่างหูของตัวเองที่นี่ก็มีเปิดสอนด้วยนะ
ภายในตัวร้านวางวัสดุสำหรับทำงานครีเอทไว้ได้อย่างน่าสนใจมาก เรียกว่าทุกมุมของร้านมีเสน่ห์จนทำให้หลายต่อหลายคนต้องค่อยๆหยุดมองแต่ละจุดช้าๆด้วยความหลงไหลเลยก็ว่าได้
ทางร้านเปิดเวิร์คช็อปสำหรับทำเครื่องประดับด้วย แต่ต้องจองเวลาเรียนล่วงหน้า และเมื่อมาถึงจะเจออุปกรณ์มากมายรอตอนรับตั้งแต่หน้าประตูทางเข้าเลย แต่วันนี้เรามาทำคินสึงิ การซ่อมถ้วยชามที่แตกด้วยทองในส่วนเวิร์คช็อปคินสึงินี้ต้องขึ้นไปชั้น 2 จ้า
พอขึ้นมาครูก็จะให้เราเตรียมตัวทำเวิร์คช็อป ซ่อมถ้วยที่แตกของเรากัน ซึ่งเป็นวิธีการที่คล้ายกับเทคนิค maki-e ในฐานะปรัชญาถือว่าการแตกหักและการซ่อมแซมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ คินสึงิมีประวัติศาตร์อันยาวนาน ซึ่งย้อนไปในศตวรรษที่ 15 เล่ากันว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ โชกุนคนที่ 8 แห่งตระกูลอาชิกางะ ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปให้ประเทศจีนช่วยซ่อมแซม
และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาเลยพยายามหาวิธีซ่อมที่ดูแล้วให้ความรู้สึกงดงาม ไม่ให้รู้สึกถึงของที่แตกร้าวเพื่อเอามาใช้ในการประกบเครื่องปั้นดินเผาให้เชื่อมรอยแตกให้สวยงาม เขาจึงทนลองใช้ครั่งผสมทองจึงทำให้เราได้เห็นการซ่อมที่สวยงามมาจนถึงยุคนี้
เมื่อเราพร้อมแล้ว ครูจะเดินมาเพื่อจับเศษถ้วยที่แตก แล้วพิจารณาว่าเราควรประกอบสองส่วนไหนให้ติดก่อนกันเป็นอันดับแรก โดยเน้นว่าควรจับสองส่วนที่เป็นชิ้นใหญ่ที่สุดมาประกบกันก่อน
หลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเรียกว่าคินสึงิ ก็เพราะหลังจากที่เอายางรักมาขึ้นรูปซ่อมแซมส่วนที่บิ่นแล้ว เขาจะมีการนำผงทองมาปัดตามรอยยางให้เกิดความสวยงาม (ในภาษาญี่ปุ่น 金:คิน แปลว่า ทอง / 継ぎ: สึงิ แปลว่า แปะ, ต่อ) เลยเรียกการซ่อมนี้ว่า คินสึงิ ส่วนเหตุผลที่นำยางรักมาใช้ในการซ่อมแซมก็เพราะว่า ยางรักมีความทนทานและปลอดภัยในการใช้งานเกี่ยวกับอาหารนั้นเอง เม้าท์เยอะและเรามาเริ่มขั้นตอนต่อไปกันดีกว่าโดยใช้กาวที่ครูเทให้ โดยต้องวนๆผสมสีกาวให้เข้ากันจนใสแบบนี้
ค่อยๆแต้ม แล้ววางประกบกัน ทิ้งไว้จนกาวแห้งสัก 3 นาที แล้วค่อยเอามืออก อย่าทำแรงล่ะเดี๋ยวแตกเพิ่มขึ้นอีก ทำงานใหญ่ใจต้องนิ่งนะทุกคน ฮ่าๆๆๆ
พอกาวเริ่มแห้ง ก็ต้องใช้ที่ขูด เอากาวที่แข็งแล้วออกมา ซึ่งตอนแปะกาว ใช้กาวให้เยอะๆเลยและต้องรีบแปะเข้าหากันนะ เพราะถ้ากาวแห้งแล้วจะต้องมาเสียเวลาขูดกาวออกและทาใหม่อีก
เมื่อทุกอย่างแห้งดีแล้ว จากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการใช้ทองมาเสริมทับรอยต่อที่ประกอบไว้ โดยใช้ไม้จิ้มฟัน หรือพู่กันเกลี่ย แต่ขอบอกว่าหากใช้ไม้จิ้มฟันมาเกลี่ยจะได้ทองที่เป็นรอยนูนขึ้นมาสวยเก๋มากขึ้นทีเดียวเลยละ
ขั้นตอนนี้ ต้องใช้สมาธิกันเลยล่ะ เพราะการทาทับเส้นรอยแตกนั้นไม่ใช่ง่ายเลย แต่ด้วยความที่เป็นของที่มีความทรงจำอยู่เราจะต้องทำให้ออกมาดีที่สุดให้สิ่งของนั้นรู้สึกถึงความรักที่มีให้กันให้ได้ เพราะงั้นงัดทุกวิชาที่เคยเรียนศิลปะมา เอามาให้หมด เอามาใช้เพื่องานนี้
โอ้ว สีเทาตัดกับสีทอง งดงามมากๆ รอยต่อตรงไหนที่ไม่เรียบ ครูก็จะมีเหมือนดินเหนียวเอามาให้เราอุดตามรอยต่างๆ จากนั้นรอให้แห้งแล้วค่อยลงสีทองทับ
ไหนๆ เอางานมาอวดกันหน่อยซิ การใช้ไม้จิ้มฟันเกลี่ยๆ นี่ถือว่าเป็นการใช้สิ่งของง่ายๆ เพื่อให้เกิดศิลปะที่ยิ่งใหญ่เลยนะ เพราะเส้นที่ได้นูนสวยให้ความรู้สึกดีมากเลยทีเดียว
ขั้นตอนสุดท้ายนี่ มีความสุขที่สุด เพราะได้ลงฝุ่นทองทับรอยทองที่เกลี่ยตะกี้ เราคิดว่าการใช้ผงทองมาปัดขั้นตอนสุดท้ายคือเหมือนการขัดเงาเพราะรอยเส้นที่เราทาไว้จะขึ้นเงาสวยเป็นประกายขึ้นมาทันที
ทำงานเสร็จแล้ว น้องๆ ขอโชว์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ เพราะของบางอย่างก็มีค่า มีเรื่องราวและความทรงจำ จะโยนทิ้งไป เมื่อวันแตกหรือชำรุดบางครั้งก็เสียดายเนอะ … กลับมาซ่อมรอยแตกราวให้กลับมาสวยงามกันดีกว่า
นอกจากด้านบนจะมีเวิร์คช็อปงานฝีมือที่ได้รับความยอดนิยมจากคนโตเกียวแล้ว ด้านล่างก็มีขายสินค้าเหล่านั้นด้วย ก็อย่างที่บอกว่าที่นี่มีเวิร์คช็อปด้วย เราว่าเที่ยวหน้าเราจะมาทำกระเป๋าเครื่องหนังแบบนี้เอาไว้ใช้เอง
ส่วนการเดินทางนั้น ก็แสนง่ายมาก เราไปตั้งต้นที่สถานีชิบูยะ แล้วขึ้นสาย Toyoko ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน นั่งมาแป๊บเดียวก็ถึงละ ง่ายและเดินทางสะดวกขนาดนี้ ก็ลองใส่ที่นี่ไว้ในแผนท่องเที่ยวกันดูนะจ้า
นี้คือชื่อสถานีGakugei-daigaku ที่ลงมาสำหรับเดินต่อไปที่ร้านได้เลยจ้า แถวนี้เป็นแถบบ้านเรือนเก่า แต่ก็ถือว่าเป็นย่านที่คึกคักพอสมควรนะ เพราะตลอดทางมีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านขายของฝากอยู่เยอะทีเดียวเลยละ เสร็จจากการทำคินสึงิแล้วก็ลองแวะเดินเที่ยวระแวกนี้กันดูนะคะ
ที่อยู่ | 1 Chome-1-11 Nakane, Meguro City, Tokyo 152-0031 |
---|---|
วิธีเดินทาง | การเดินทาง สามารถไปจากสถานีชิบูยะด้วย Tōkyū Tōyoko Line ลงที่ Gakugei-daigaku Station |
เวลาทำการ | 10:00〜19:30 น. |
Website | makers-base |
Blogger : ก้าง
มนุษย์แม่ที่หลงใหลการแบกเป้เที่ยว ว่างเข้าป่า ปีนเขา เผลอใจให้กับธรรมชาติง่าย ตอนวัยรุ่นชอบการนอนตามป้ายรถเมล์หรือตามสถานีรถไฟ ใช้ชีวิตอย่างคนไร้บ้านทุกปิดเทอมตั้งแต่อายุ 16 ชอบลองกินของแปลกใหม่ ชอบหาความหมายของทุกสิ่งรอบๆตัว และมีความสุขที่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่เราไป ก้างผู้ชื่นชอบการนั่งรถไฟในช่วงเวลาเร่งด่วนเพื่อหาวิวดีๆ อิอิ!!! ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ เว็บไซต์ : https://chillchill-trip.com/
9 Posts
[รีวิว] SEIBU Shibuya Department Store ห้างใหญ่ ในชิบูย่า ใกล้สถานี ที่รวบรวมแบรนด์ที่มีชื่อเสียงของโลก
ห้างเซบุ (SEIBU) เป็นหนึ่งใน 10 ห้างดังย่านชิบูย่า (SHIBUYA) ที่รวบรวมแบรนด์ที...
10 ที่เที่ยวฟูจิ เปิดพิกัดที่เที่ยวแบบใหม่ ไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ
Kitaguchi-hongu Fuji Sengen Shrine ศาลเจ้าที่อุดมไปด้วยพลังงานของขุนเขา คิตะกุ...
ตะลุย piole HIMEJI ช้อปปิ้งมอลล์แห่งใหญ่ใน ฮิเมจิ ช้อปสนุก ติดสถานี
Contents Index Piole HIMEJI มีอะไรบ้าง แนะนำแบรนด์ดัง ร้านปลอดภาษี มาทั้งทีไม่...
เครื่องสำอางญี่ปุ่น 2020 รวม 40 อันดับน่าใช้ได้ใจสุด
มาแลัว กับอันดับ เครื่องสำอางญี่ปุ่น 2020 ออกใหม่สดๆ ร้อนๆ ยังคงรวบรวบข้อมูลใ...
Seibu Pepe Shinjuku & Brick St.ห้างวินเทจใจกลางชินจูกุ แหล่งรวมร้านอร่อย ช้อปปิ้งสุดเพลินทั้งวัน
Seibu Pepe Shinjuku & Brick St. คือห้างใหญ่ใจกลางเมืองชินจูกุ การเดินทางมาแสน...
50 อันดับ อาหารญี่ปุ่น ที่ไปแล้วต้องกิน !
22/07/2019 | Japan
เหล้าบ๊วยญี่ปุ่น 7 อันดับ รสเยี่ยม ที่ต้องห้ามพลาด
23/02/2017 | Japan
เทียบ 6 แกงกะหรี่สำเร็จรูป ยี่ห้อไหนอร่อย พร้อมเคล็ด(ไม่)ลับจากครัวญี่ปุ่น
22/05/2020 | Japan
เปรียบเทียบ 5 travel card ธนาคารไหนดี เที่ยวสบาย ไม่ต้องพกเงินสด
05/11/2019 | Japan
โอมากาเสะ คือ อะไร กินแบบไหน รู้ไว้ก่อนลอง
31/07/2018 | Japan
Police
110
Ambulance
119
AMDA International Medical Information Center
03-5285-8088
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
03-5789-2449
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า
06-6262-9226-7
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ
092-686-8775
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุ๊กกี้ของเราผ่านทาง นโยบายความเป็นส่วนตัว