เที่ยวพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ (Nagasaki Atomic Bomb Museum) เรียนรู้ความโหดร้ายของสิ่งที่เรียกว่าสงคราม แห่งเมือง Nagasaki

11/03/2025
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายสงครามในปีค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาได้มีการใช้ระเบิดชนิดร้ายแรงทิ้งมาใส่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งระเบิดชนิดนี้เรียกว่าระเบิดปรมาณู ซึ่งได้ทิ้งใส่เมือง Hiroshima และ Nagasaki ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมายมหาศาล

โดยวันนี้นั้นผมจะพามารู้จัก 1 ใน 2 เมืองที่ถูกระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นคือเมือง Nagasaki ซึ่งที่นี่มีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับระเบิดปรมาณูชื่อว่า พิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum ) ซึ่งในวันนี้ผมมาแนะนำให้เพื่อนๆได้รู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งนี้กันมาขึ้น ว่าที่นี่มีอะไรน่าสนใจบ้าง และวิธีการเดินทางมายังที่นี่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่สามารถเดินทางจากที่นี่ไปได้ง่ายๆ

ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่าภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั้นเพื่อนๆจะได้เห็นความโหดร้ายของสงคราม และระเบิดปรมาณู ซึ่งจะมีค่อนข้างหดหู่พอสมควร
Meiji Amino Collagen LP R1

ประวัติและที่มา

เหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่นางาซากิเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1945

Nagasaki, Japan – July 20, 2022: Nagasaki Atomic Bomb Museum, the Museum is a remembrance to the atomic bombing of Nagasaki by the United States of America.

เหตุการณ์การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ Nagasaki นั้น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีค.ศ. 1945 หรือ 3 วันให้หลังจากที่ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ Hiroshima

ก่อนอื่นจะต้องบอกก่อนว่าเดิมที่นั้น Nagasaki ไม่ใช่เป้าหมายหลักของการทิ้งระเบิดปรมาณู แต่เป้าหมายที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ Kokura ในจังหวัด Fukuoka 

การพิจารณาในการที่จะทิ้งระเบิดปรมาณูนั้น ทางสหรัฐอเมริกาพิจารณาจาก เมืองที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม และต้องตั้งอยู่บนที่ราบ และที่สำคัญคือต้องเป็นเมืองที่ได้รับการโจมตีทางทหารน้อยหรือไม่เคยถูกโจมตี ทำให้ Hiroshima และ Kokura นั้นอยู่ในเป้าหมายหลัก

โดยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปี 1945 นั้น เครื่องของสหรัฐได้บินมาเหนือน่านฟ้าของ Kokura เพื่อทำการโจมตี Kokura แต่ด้วยอาจจะเป็นความโชคดีของ Kokura ด้วยนั้น เพราะว่าในวันนั้นเมฆหมอกแถว Kokura นั้นได้มีมากจัด ทำให้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายกระทันหันไปเป็น Nagasaki แทน

ในเวลา 11 นาฬิกา 2 นาที ระเบิดร่างอ้วนที่มีชื่อว่า Fatman ก็ได้ถูกทิ้งลงที่ Nagasaki โดยอานุภาพการทำลายล้างนั้นเท่ากับระเบิด TNT ถึง 21 กิโลตัน เลยทีเดียว ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที่มากกว่า 73884 คน

และมีผู้บาดเจ็บหรือได้รับผลกระทบอีก 74909 คน

ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม ปี 1945 ญี่ปุ่นก็ได้ลงนามยอมแพ้สงครามแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร

ต่อมาทางเมืองได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum ) โดยสร้างขึ้นมาแทนหอวัฒนธรรมนานาชาติ Nagasaki โดยพิพิธภัณฑ์ได้เปิดบริการครั้งแรกในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1996 

ภายในพิพิธภัณฑ์นั้นได้จัดแสดงเกี่ยวข้าวของเครื่อวใช้ โบราณวัตถุ และผลกระทบที่เกี่ยวของกับการทิ้งระเบิด Fatman เท่านั้นไม่พอที่นี่ยังจัดแสดงเกี่ยวการฟื้นฟูของเมือง Nagasaki หลังถูกทิ้งระเบิดปรมาณูอีกด้วย

โดยพิพิธภัณฑ์มีทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกัน

สิ่งที่น่าสนใจภายในพิพิธภัณฑ์

ห้องจัดแสดงหลัก

ห้องจัดแสดงหลักของพิพิธภัณฑ์นั้นได้จัดแสดงเกี่ยวกับ ความเสียหายที่เกิดจากระเบิดปรมาณู ประวัติศาสตร์ต่างๆ รวมถึงเหตุที่ต้องทิ้งระเบิดปรมาณู 

ที่นี่ได้จัดเป็นนิทรรศการ เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมือง Nagasaki ตั้งแต่ยุคโบราณในสมัยที่ชาวโปรตุเกสได้นำเรือเทียบท่า Nagasaki ในปีค.ศ. 1571 จนมาถึงวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นที่วันที่ระเบิดปรมาณูได้ถูกทิ้งลงที่ Nagasaki โดยมีไฮไลท์อยู่ที่นาฬิกาโบราณที่ตัวเข็มนาฬิกานั้นชี้ไปที่เวลา 11.02 น. ซึ่งก็คือเวลาที่ระเบิดปรมาณูได้คร่าชีวิตผู้คนไปนั่นเอง

และยังจัดแสดงเกี่ยวกับความเสียหาย ผลกระทบจากการทิ้งระเบิดปรมาณู โดยมีหน้าจอขนาดใหญ่ที่แสดงภาพของเมือง Nagasaki ที่ถูกทำลายหลังถูกทิ้งระเบิดปรมาณู มีวัตถุของจริงๆที่ถูกระเบิดปรมาณูมาจัดให้แสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วย รวมถึงผนังจำลองของโบสถ์ Urakami ที่ถูกระเบิดทำลาย รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้าต่างๆที่ถูกระเบิดก็มาถูกจัดแสดงที่นี่ด้วยเช่นกัน 

ที่นี่ยังมีโมเดลของเจ้าระเบิดที่ชื่อ Fatman มาจัดแสดงให้ดูด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีรูปถ่าย รูปวาด วิดีโอ เกี่ยวกับการระเบิด มาจัดแสดงไว้ รวมถึงสภาพเมือง Nagasaki ก่อน – หลังถูกระเบิด โดยเฉพาะวิดีโอนั้น ได้มีการนำบันทึกการสัมภาษณ์ของผู้ที่รอดชีวิตมาถ่ายทอดให้นักท่องเที่ยวได้ดูด้วย

นักท่องเที่ยวยังสามารถใช้มือสัมผัสสิ่งของที่เคยถูกระเบิดปรมาณูทำลายในสมัยก่อนด้วย ซึ่งมีบางชนิดที่ทางพิพิธภัณฑ์นำมาให้นักท่องเที่ยวได้ลองสัมผัส

ภาพยนตร์และสื่อมัลติมีเดีย

ที่มา https://nabmuseum.jp/genbaku/tenji/videoroom/

ห้องสำหรับรับชมวิดีโอของพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum ) จะแบ่งเป็น 2 ห้องด้วยกัน คือ 

ห้องวิดีโอ 1

โดยห้องนี้นั้นจะมีการจัดฉายอนิเมชั่นการทิ้งระเบิดปรมาณู เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยมีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษด้วย สลับกับการฉายฟุตเพจที่รวมๆคลิปวิดีโอเกี่ยวกับความเสียหายของการทิ้งระเบิดปรมาณู 

ห้องวิดีโอ 2 

ห้องนี้ฉายวิดีโอเกี่ยวกับ การห้ามใช้ระเบิดนิวเคลียร์รวมถึงกิจกรรมนานาชาติที่ไปในทางยกเลิกการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ รวมถึงกระบวนการที่นำไปสู่การทำสนธิสัญญาห้ามใช้นิวเคลียร์

นอกจากห้องวิดีโอ 2 ห้องนี้แล้ว ที่บริเวณห้องจัดแสดงหลัก ก็มีวิดีโอให้นักท่องเที่ยวดู โดยเฉพาะวิดีโอที่มาจากคำบอกจากปากของผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดที่มาเล่าด้วยตนเอง

โซนเพื่อสันติภาพ

บริเวณนี้นั้นจะมีการจัดแสดงข้อมูลและเล่าเรื่องราวของสงครามตั้งแต่มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มจากเหตุการณ์ในแมนจูเรียตั้งแต่ปีค.ศ. 1931 จนไปถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงการเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของระเบิดปรมาณูที่มีจุดเริ่มต้นจากที่ใด และพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร จนไปถึงเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ Hiroshima และ Nagasaki และพูดต่อในเรื่องของอนาคตเกี่ยวระเบิดปรมาณูในยุคสมัยใหม่ที่นับวันยิ่งมีอานุภาพทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและรุนแรงที่ยิ่งกว่าที่ Hiroshima และ Nagasaki

ดังนั้นแล้วจึงเป็นที่มาของโซนนี้ โดยโซนนี้จะเน้นไปที่เรื่องยกเลิกการใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยเมือง Nagasaki นั้น เป็นเมืองที่เคยถูกทำลายโดยระเบิดปรมาณูมาก่อน ซึ่งทางเมืองได้มีการตั้งเป้าหมายคือ ให้โลกได้รู้ถึงความน่ากลัวของอาวุธนิวเคลียร์ โดยทางเมือง Nagaski และ Hiroshima พยายามผลักดันให้บรรลุเป้าหมายก็คือ โลกที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์

และที่โซนนี้ยังมีนิทรรศการที่เกี่ยวกับผลกระทบของระเบิดนิวเคลียร์ แต่เหยื่อในคราวนี้ไม่ใช่มาจาก Hiroshima หรือ Nagasaki แต่มาจากการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในปีค.ศ. 1954 ซึ่งนาย Kuboyama Aikichi ลูกเรือประมงเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบในครั้งนี้ และได้แสดงให้เห็นอีกว่าระเบิดนิวเคลียร์ไม่ได้ทำให้มนุษย์ตกเป็นเหยือเท่านั้นยังมีสิ่งปนเปื้อนจากรังสีที่อยู่ตามธรรมชาติอีกด้วย

ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลักดันให้โลกนี้เป็นโลกที่ปลอดนิวเคลียร์ ได้ที่โซนนี้

วิธีการเดินทางไปพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ Nagasaki Atomic Bomb Museum

เดินทางโดยต้นทางปลายทางรายละเอีัยดการเดินทาง
รถราง ( Tram )สถานี Jr Nagasakiป้าย Atomic Bomb Museumนั่งรถรางสาย 1 หรือ 3 มาลงป้าย Atomic Bomb Museum จากนั้นเดินอีก 5 นาที
รถบัสสถานี Jr Nagasakiป้าย Hamaguchi – Machiนั่งรถบัสสายที่มุ่งหน้าไป Nameshi, Togitsu, Nagayo, หรือ Menoto มาลงป้าย Hamaguchi – Machi แล้วเดินอีก 5 นาที

ค่าธรรมเนียมเข้าชมและเวลาเปิดทำการ

วันเวลาทำการ เดือนเมษายน, กันยายน – มีนาคม เปิดตั้งแต่ 08.30 น. – 17.30 น.

          เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม เปิดตั้งแต่ 08.30 น. – 18.30 น.

          วันที่ 7 – 9 สิงหาคม เปิดตั้งแต่ 08.30 น. – 20.00 น.

ปิดวันที่ 29 – 31 ธันวาคม

ราคา ผู้ใหญ่ 200 เยน เด็ก 100 เยน

ตารางข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum )

ที่อยู่7-8 Hiranomachi, Nagasaki, 852-8117
Websiteพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum )

ดูแผนที่ พิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum )

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง (พร้อมระยะห่าง)

Nagasaki Peace Park (สวนสันติภาพนางาซากิ) – ระยะทาง 300 เมตร

Nagasaki Peace Park (สวนสันติภาพนางาซากิ)  สร้างขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ Nagasaki เมื่อปีค.ศ. 1945 ซึ่งที่สวนแห่งนี้มีไฮไลท์อยู่ที่รูปปั้นสันติภาพ ที่มีขนาดใหญ่และเด่นสง่า

นักท่องเที่ยวสามารถลงไปยังชั้นใต้ดินของสวนได้ ซึ่งภายในได้จัดแสดงเศษแก้ว กระเบื้องต่างๆ ที่ถูกระเบิดปรมาณู ให้นักท่องเที่ยวดู ใกล้ๆกับทางลงยังเสาหินจากมหาวิหาร Urakami ที่ถูกระเบิดเสียหายให้นักท่องเที่ยวได้ดูด้วย

Nagasaki Peace Park (สวนสันติภาพนางาซากิ)

ที่อยู่9 Matsuyamamachi, Nagasaki, 852-8118
วิธีเดินทางเดินจากพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum ) 5 นาที หรือ
นั่งรถรางสาย 1 หรือ 3 มาลงป้าย Peace Park
เวลาทำการเปิด 24 ชั่วโมง
ราคาฟรี
WebsiteNagasaki Peace Park (สวนสันติภาพนางาซากิ)

ดูแผนที่ Nagasaki Peace Park (สวนสันติภาพนางาซากิ)

Hypocenter Park (จุดศูนย์กลางระเบิดปรมาณู) – ระยะทาง 500 เมตร

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

Hypocenter Park (จุดศูนย์กลางระเบิดปรมาณู) นั้นตั้งอยู่ใจกลางสวนสันติภาพ โดยมีเสาหินสีดำเป็นตัวบ่งชี้ว่าบริเวณนี้คือจุดศูนย์กลางของระเบิด ซึ่งใกล้ๆกับที่นี่ยังมีเสาหินของวิหาร Urakami และทางลงใต้ดินอีกด้วย

Hypocenter Park (จุดศูนย์กลางระเบิดปรมาณู)

ที่อยู่9 Matsuyamamachi, Nagasaki, 852-8118
วิธีเดินทางเดินจากพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum ) 4 นาที หรือ
นั่งรถรางสาย 1 หรือ 3 มาลงป้าย Peace Park
เวลาทำการเปิด 24 ชั่วโมง
ราคาฟรี
WebsiteHypocenter Park (จุดศูนย์กลางระเบิดปรมาณู)

ดูแผนที่ Hypocenter Park (จุดศูนย์กลางระเบิดปรมาณู)

Urakami Cathedral (มหาวิหารอุราคามิ) – ระยะทาง 700 เมตร

Urakami Cathedral (มหาวิหารอุราคามิ) เป็นโบสถ์คาทอลิก ที่สร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 1985 บนพื้นที่ที่ในอดีตนั้นเคยใช้ในการต่อต้านชาวคริสต์ โดยมีรูปร่างเป็นอาคารอิฐแดงสไตล์ยุโรป ซึ่งวิหารแห่งน้ก็ได้ถูกทำลายลงด้วยผลพวงจากระเบิดปรมาณูด้วยเช่นกัน ก่อนที่จะได้สร้างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1959  โดยภายในโบสถ์ได้เก็บข้าวของเครื่องใช้ วัตถุโบราณ ที่โดนระเบิดปรมาณูไว้ด้วย

ปัจจุบันโบสถ์เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชมด้านในได้

Urakami Cathedral (มหาวิหารอุราคามิ)

ที่อยู่1-79 Motoomachi, Nagasaki, 852-8112
วิธีเดินทางเดินจากพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum ) 10 นาที หรือ
นั่งรถรางมาลงป้าย Peace Park แล้วเดินอีก 10 นาที
เวลาทำการเปิดตั้งแต่ 09.00 น. – 17.00 น.
ราคาฟรี
WebsiteUrakami Cathedral (มหาวิหารอุราคามิ)

ดูแผนที่ Urakami Cathedral (มหาวิหารอุราคามิ)

คำแนะนำสำหรับผู้เข้าชม

เนื่องจากภายในพิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum ) จะมีการจัดแสดงรูปของผู้ที่บาดเจ็บ หรือสูญเสีย ด้วย ซึ่งจะมีความหดหู่มาก นักท่องเที่ยวอ่อนไหวในเรื่องพวกนี้อาจจะไม่เหมาะกับการมาที่นี่ 

และการชมแบบสำรวมไม่ส่งเสียงดัง เล่นเฮฮา สนุกสนานก็เป็นสิ่งที่ควรพึงกระทำสำหรับนักท่องเที่ยว เพราะเป็นสถานที่ที่มีความสะเทือนจิตใจของชาวญี่ปุ่นอย่างมาก

ส่วนเรื่องการถ่ายภาพด้านในส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ถ่ายภาพได้ ที่ถ่ายไม่ได้ก็คือ Atomic Bomb Diagram ที่อยู่บริเวณเครื่องขายตั๋ว และ Boy Standing at the Crematorium ที่ทางออกชั้นที่ 1  

แต่เพื่อความชัวร์นักท่องเที่ยวอาจจะต้องสังเกตป้าย หรือหากมีนิทรรศการแบบพิเศษก็บางครั้งก็ไม่สามารถถ่ายภาพได้ การสังเกตป้ายหรือการสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนถ่ายภาพจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ และการใช้แฟลชนั้นไม่สามารถใช้ได้ ขาตั้งกล้องก็ด้วยเช่นกัน

เคล็ดลับการเยี่ยมชมเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วน ที่นี่มีบริการ Audio Guide ให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ด้วย โดยมีให้เลือกถึง 12 ภาษา ราคาค่าเช่า 157 เยน หรือนักท่องเที่ยวสามารถแสกน QR Code เพื่อรับฟังคำบรรยายได้ถึง 11 ภาษา  ได้แก่ ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน เกาหลี สเปน โปรตุเกส ดัตช์ เยอรมัน ฝรั่งเศส รัสเซีย และอาหรับ

การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มไม่สามารถทำได้ ยกเว้นจุดที่มีตู้ขายน้ำอัตโนมัติ

สรุป

พิพิธภัณฑ์ปรมาณูนางาซากิ ( Nagasaki Atomic Bomb Museum ) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับความโหดร้ายของการใช้ระเบิดปรมาณูในการสังหารเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งนักท่องเที่ยวไได้เห็นถึงความโหดร้ายของสงคราม และได้เห็นแรงผลักดันของเมือง Nagasaki ที่ต่อสู้เพื่อให้ทั่วโลกนั้นปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ และสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงนั้นก็ล้วนเกี่ยวข้องกับระเบิดปรมาณูทั้งสิ้น

 ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวที่ชอบเที่ยวแนวประวัติศาสตร์ต้องบอกได้เลยว่าต้องมาที่นี่ให้ได้และห้ามพลาดโดยเด็ดขาด

Kintetsu Line LP R3
Kitslaughter666

Blogger : Kitslaughter666

ผมชื่อ กิด เป็นคนที่สนใจประเทศญี่ปุ่นเป็นพิเศษโดยเฉพาะประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และชอบทานราเมง กับ ปลาปักเป้า เป็นชีวิตจิตใจ รักการถ่ายเซลฟี่กับกวางที่เกาะมิยาจิม่า ชอบภูมิภาคชูโกกุ ชอบเที่ยวสถานที่Unseenของญี่ปุ่น

94 Posts

โหวต

| Polls
โหวต | Polls
  • คุณเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นปีละกี่ครั้ง?

    View Results

    Loading ... Loading ...
CCJ Hotel Search

กรณีฉุกเฉิน

| Emergency
  • Police

    110

  • Ambulance

    119

  • AMDA International Medical Information Center

    03-6233-9266

  • สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว

    090-4435-7812

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

    090-1895-0987

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ

    090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515

จองทริปของคุณ

| Book your trip
With:
City:

Check-in:

Night :

x