การรับมือ แผ่นดินไหว ญี่ปุ่น รู้ไว้ก่อนฉุกเฉิน

19/06/2018 (อัพเดทเมื่อ 26/06/2024)
แผ่นดินไหว เป็นหนึ่งภัยพิบัติที่ใครก็ไม่อยากเจอ ในฐานะนักท่องเที่ยวเราก็ควรเตรียมพร้อมศึกษาข้อปฏิบัติ และช่องทางการติดต่อหากเกิดเหตุระหว่างที่เรากำลังเที่ยวญี่ปุ่น วันนี้เราจัดข้อมูลสำคัญมาฝากแล้ว เป็น การรับมือ แผ่นดินไหว ญี่ปุ่น เมื่อเกิดเหตุต้องทำอย่างไร ไปที่ไหนบ้าง มีระเบียบปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยอย่างไรบ้าง ข้อมูลสำคัญรู้ไว้ก่อนฉุกเฉิน

แผ่นดินไหวญี่ปุ่น อีกหนึ่งภัยพิบัตสำคัญที่เกิดขึ้นได้ เมื่อแผ่นดินมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของการสั่นไหว จึงนำมาซึ่งความเสียหายต่างๆ ในฐานะนักท่องเที่ยวเราไม่ทราบเลยว่าวันไหนเราอาจประสบเหตุ วันนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวมาฝากกัน

การเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว

เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว เราอาจไม่ได้อยู่ในภาวะผู้ประสบภัย ทว่าการเตรียมตัวในสถานการณ์แผ่นดินไหวก็เป็นสิ่งจำเป็น ทิปส์ดังต่อไปนี้เป็นการเตรียมตัวที่ควรทำ

 

เตรียมเลื่อนเที่ยวบิน

แผ่นดินไหวอาจทำให้การคมนาคมไม่สะดวก บางเส้นทางอาจปิด การเดินทางตามแผนเดิมอาจเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องลองพิจารณาเลื่อนเที่ยวบิน หากยังมีอินเทอร์เน็ตควรจัดการเองให้เรียบร้อย ควรหาเบอร์ติดต่อสายการบินสาขาญี่ปุ่นเก็บไว้เผื่อต้องโทรติดต่อ

เตรียมตัวเผื่อต้องนอน หรือรอ ที่ที่ไม่คาดฝัน

เกิดเหตุไม่คาดฝัน เราอาจไม่ทันจัดการเรื่องที่พัก หรืออาจจะต้องนอนรอเพื่อเดินทาง เช่นตามสถานีรถไฟ หรือสนามบิน ดังนั้นต้องเตรียมของไว้ชุดนึงเพื่อรับมือสถานการณ์ต่างๆ ได้ อาทิเป้ที่มีอาหาร น้ำดื่ม เสื้อคลุมกันหนาว กระเป๋ายา เป็นต้น

floating-restaurant-1

นอนสนามบิน คันไซ แบบประหยัด ปลอดภัย ที่ Aero Plaza สบายใจ ไม่ตกเครื่อง

บางครั้งเมื่อไฟลท์บินไม่เป็นใจ หรือกลัวมาไม่ทันเดินทางไฟลท์เช้า การนอนค้างที่สนามบินรอเวลาคงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เอาใจคนอยากเที่ยวภูมิภาคคันไซด้วยข้อมูล นอนสนามบิน คันไซ แบบประหยัด ปลอดภัย สบายใจ ไร้ปัญหา ต้อง Aero Plaza เลย

มีรายการการติดต่อที่สำคัญ

สำหรับกรณีฉุกเฉิน คุณอาจต้องติดต่อขอความช่วยเหลือ ควรปริ๊รเบอร์โทร หรือเก็บคอนแท็คสำคัญไว้ในมือถือไว้

floating-restaurant-1

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว

floating-restaurant-1

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

จัดแพลนการเดินทางใหม่

ถ้าจุดที่คุณอยู่ไม่ใกล้จุดที่แผ่นดินไหวมาก ยังพอดำเนินการเที่ยวได้ ก็ควรจัดการเที่ยวให้เหมาะสม อาจเน้นเที่ยวในเมือง งดการเข้าป่า หรือไปเที่ยวชายฝั่ง จึงควรเตรียมตัวเพื่อความปลอดภัย

แบตเตอร์รี่ห้ามหมด

เพื่อการติดต่อ หรือการติดตามข่าวสารที่ไม่สะดุด ควรมีแบตเตอร์รี่สำรองเตรียมไว้ต่างหาก เพื่อไม่ให้เกิดเหตุจนขาดการติดต่อ

ข้อปฏิบัติเมื่อเผชิญเหตุแผ่นดินไหว

หัวข้อที่แล้วเราพูดถึงการเตรียมรับมือกับความไม่สะดวก เมื่อเกิดเหตุแต่ใครจะรู้ว่าเราเองอาจจะเป็นผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหว ดังนั้นเราจะมาพูดถึงวิธีเอาตัวรอดเมื่อประสบเหตุ

ตั้งสติ

สติมาปัญญาเกิด เมื่อเกิดเหตุเราต้องตั้งสติเป็นอันดับแรก เพื่อรับมือเหตุการณ์และหาทางหนีทีไล่

การป้องกันตัวเมื่ออยู่ในอาคาร

ควรยืนหรือหมอบในบ้านส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก เช่นโต๊ะที่แข็งแรง และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง ถ้าไม่แน่ใจอย่าวิ่งละล้าละลังเข้าออกเพราะจะบาดเจ็บได้ กรณีเป็นอาคารสูง การออกนอกอาคารไม่ควรใช้ลิฟต์

การป้องการตัวเมื่ออยู่นอกอาคาร

ควรหาที่โล่งเพื่อหลบ เลี่ยงกำแพงสูง สะพาน ถนนแคบ เนิน หรือกองของ เสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการถล่มทับ ตก การบาด การทับ แต่ถ้าเกิดเหตุสามารถในประเป๋าที่มีกันได้

การป้องการตัวเมื่อในสถานีรถไฟ หรือในขบวน

ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของสถานี อย่าตื่นตกใจ อย่าพยายามออกจากขบวนรถไฟ เน้นยึดจับราวจับให้แน่น และรอประกาศแนะนำ เมื่ออยู่บริเวณสถานีให้ตั้งสติรอฟังรอฟังเสียงประกาศจากเจ้าหน้าที่ เน้นทำตามคนอื่นถ้าฟังไม่ออก

ข้อปฏิบัติ และ ข้อควรระวังอื่นๆ

  • อย่าจุดเทียน ไม้ขีดไฟ ให้เกิดกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
  • หลีกเลี่ยงบริเวณชายฝั่ง
  • ให้ออกจากอาคารที่ชำรุดป้องกันการพังทลายลงมา
  • ควรไปรวมตัวกันในที่ที่ทางรัฐบาลกำหนด

สำหรับใครที่อยากทราบข้อมูลอย่างละเอียดสามารถดูทิปส์ต่างๆ ได้จากคู่มือป้องกันภัยพิบัติได้

floating-restaurant-1

คู่มือป้องกันภัยพิบัติ

ภาษาอังกฤษ

ข้อสรุป

เรื่องไม่คาดฝัน ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิด แต่ถ้าเกิดแล้วเราเตรียมพร้อมรับมือ ก็นับว่าสถานการณ์ไม่ได้แย่นััก การศึกษาภัยพิบัติที่อาจเกิด อย่าง แผ่นดินไหวญี่ปุ่น ก็นับเป็นการวางแผนเที่ยวที่จำเป็น นอกจากเรื่องนี้แล้ว เรื่องพายุเข้าก็ควรรู้เช่นกัน

floating-restaurant-1

เราจึงรวบรวมข้อมูลที่ควรทราบ เมื่อ พายุเข้า ญี่ปุ่น ที่นักท่องเที่ยวควรรู้ เพื่อให้ทริปเที่ยวญี่ปุ่นของคุณดำเนินต่อไปแบบปลอดภัย

Gashapond

Blogger : Gashapond

สาว(ไม่)น้อย ผู้รักใน การถ่ายภาพ ท่องเที่ยว ชิมของอร่อย ซอฟต์ครีม และบ้าเครื่องสำอางชนิดเสพติด ขอทำหน้าที่พาคุณเที่ยว หาโปรเด็ด ให้ทริปญี่ปุ่นของคุณสนุกสบาย ??

504 Posts

CCJ Hotel Search

สถานที่เที่ยว

| Feature

กรณีฉุกเฉิน

| Emergency
  • Police

    110

  • Ambulance

    119

  • AMDA International Medical Information Center

    03-6233-9266

  • สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว

    090-4435-7812

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

    090-1895-0987

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ

    090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515