ประวัติศาสตร์ของ “คินสึงิ (Kintsugi)” งานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิมซึ่งเริ่มเมื่อปี 1972 ศิลปะประเภทนี้สอนผู้คนให้รู้คุณค่าของสิ่งของที่แม้ว่าจะพังไปแล้วก็ไม่ควรจะทอดทิ้งให้ไร้คุณค่า แต่ต้องแสดงออกมาอย่างภาคภูมิใจ
Kintsukuroi คือศิลปะการซ่อมเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่น ที่ซ่อมรอยแตกด้วยแล็กเกอร์ป่นผสมกับทองคำขาวเงินหรือแพลทินัม วันนี้เรามีร้านที่สืบทอดเจตนารมณ์ของคนในอดีตให้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันมาแนะนำค่ะ นั่นคือที่ร้าน Makers’ Base เป็นร้านที่ค่อนข้างใหญ่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโตเกียวเลย มีหลายชั้น และมีงานฝีมือหลายแบบให้เลือกทดลองทำอีกด้วยนะ
ภายในร้านมีจัดสินค้าวางจำหน่ายเช่น กระเป๋าหนัง ต่างหู ที่เป็นงานของทางร้านที่ทำออกมาขายนั้นเอง หากใครสนใจอยากทำกระเป๋าหรือต่างหูของตัวเองที่นี่ก็มีเปิดสอนด้วยนะ
ภายในตัวร้านวางวัสดุสำหรับทำงานครีเอทไว้ได้อย่างน่าสนใจมาก เรียกว่าทุกมุมของร้านมีเสน่ห์จนทำให้หลายต่อหลายคนต้องค่อยๆหยุดมองแต่ละจุดช้าๆด้วยความหลงไหลเลยก็ว่าได้
ทางร้านเปิดเวิร์คช็อปสำหรับทำเครื่องประดับด้วย แต่ต้องจองเวลาเรียนล่วงหน้า และเมื่อมาถึงจะเจออุปกรณ์มากมายรอตอนรับตั้งแต่หน้าประตูทางเข้าเลย แต่วันนี้เรามาทำคินสึงิ การซ่อมถ้วยชามที่แตกด้วยทองในส่วนเวิร์คช็อปคินสึงินี้ต้องขึ้นไปชั้น 2 จ้า
พอขึ้นมาครูก็จะให้เราเตรียมตัวทำเวิร์คช็อป ซ่อมถ้วยที่แตกของเรากัน ซึ่งเป็นวิธีการที่คล้ายกับเทคนิค maki-e ในฐานะปรัชญาถือว่าการแตกหักและการซ่อมแซมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ คินสึงิมีประวัติศาตร์อันยาวนาน ซึ่งย้อนไปในศตวรรษที่ 15 เล่ากันว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ โชกุนคนที่ 8 แห่งตระกูลอาชิกางะ ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปให้ประเทศจีนช่วยซ่อมแซม
และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาเลยพยายามหาวิธีซ่อมที่ดูแล้วให้ความรู้สึกงดงาม ไม่ให้รู้สึกถึงของที่แตกร้าวเพื่อเอามาใช้ในการประกบเครื่องปั้นดินเผาให้เชื่อมรอยแตกให้สวยงาม เขาจึงทนลองใช้ครั่งผสมทองจึงทำให้เราได้เห็นการซ่อมที่สวยงามมาจนถึงยุคนี้
เมื่อเราพร้อมแล้ว ครูจะเดินมาเพื่อจับเศษถ้วยที่แตก แล้วพิจารณาว่าเราควรประกอบสองส่วนไหนให้ติดก่อนกันเป็นอันดับแรก โดยเน้นว่าควรจับสองส่วนที่เป็นชิ้นใหญ่ที่สุดมาประกบกันก่อน
หลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเรียกว่าคินสึงิ ก็เพราะหลังจากที่เอายางรักมาขึ้นรูปซ่อมแซมส่วนที่บิ่นแล้ว เขาจะมีการนำผงทองมาปัดตามรอยยางให้เกิดความสวยงาม (ในภาษาญี่ปุ่น 金:คิน แปลว่า ทอง / 継ぎ: สึงิ แปลว่า แปะ, ต่อ) เลยเรียกการซ่อมนี้ว่า คินสึงิ ส่วนเหตุผลที่นำยางรักมาใช้ในการซ่อมแซมก็เพราะว่า ยางรักมีความทนทานและปลอดภัยในการใช้งานเกี่ยวกับอาหารนั้นเอง เม้าท์เยอะและเรามาเริ่มขั้นตอนต่อไปกันดีกว่าโดยใช้กาวที่ครูเทให้ โดยต้องวนๆผสมสีกาวให้เข้ากันจนใสแบบนี้
ค่อยๆแต้ม แล้ววางประกบกัน ทิ้งไว้จนกาวแห้งสัก 3 นาที แล้วค่อยเอามืออก อย่าทำแรงล่ะเดี๋ยวแตกเพิ่มขึ้นอีก ทำงานใหญ่ใจต้องนิ่งนะทุกคน ฮ่าๆๆๆ
พอกาวเริ่มแห้ง ก็ต้องใช้ที่ขูด เอากาวที่แข็งแล้วออกมา ซึ่งตอนแปะกาว ใช้กาวให้เยอะๆเลยและต้องรีบแปะเข้าหากันนะ เพราะถ้ากาวแห้งแล้วจะต้องมาเสียเวลาขูดกาวออกและทาใหม่อีก
เมื่อทุกอย่างแห้งดีแล้ว จากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการใช้ทองมาเสริมทับรอยต่อที่ประกอบไว้ โดยใช้ไม้จิ้มฟัน หรือพู่กันเกลี่ย แต่ขอบอกว่าหากใช้ไม้จิ้มฟันมาเกลี่ยจะได้ทองที่เป็นรอยนูนขึ้นมาสวยเก๋มากขึ้นทีเดียวเลยละ
ขั้นตอนนี้ ต้องใช้สมาธิกันเลยล่ะ เพราะการทาทับเส้นรอยแตกนั้นไม่ใช่ง่ายเลย แต่ด้วยความที่เป็นของที่มีความทรงจำอยู่เราจะต้องทำให้ออกมาดีที่สุดให้สิ่งของนั้นรู้สึกถึงความรักที่มีให้กันให้ได้ เพราะงั้นงัดทุกวิชาที่เคยเรียนศิลปะมา เอามาให้หมด เอามาใช้เพื่องานนี้
โอ้ว สีเทาตัดกับสีทอง งดงามมากๆ รอยต่อตรงไหนที่ไม่เรียบ ครูก็จะมีเหมือนดินเหนียวเอามาให้เราอุดตามรอยต่างๆ จากนั้นรอให้แห้งแล้วค่อยลงสีทองทับ
ไหนๆ เอางานมาอวดกันหน่อยซิ การใช้ไม้จิ้มฟันเกลี่ยๆ นี่ถือว่าเป็นการใช้สิ่งของง่ายๆ เพื่อให้เกิดศิลปะที่ยิ่งใหญ่เลยนะ เพราะเส้นที่ได้นูนสวยให้ความรู้สึกดีมากเลยทีเดียว
ขั้นตอนสุดท้ายนี่ มีความสุขที่สุด เพราะได้ลงฝุ่นทองทับรอยทองที่เกลี่ยตะกี้ เราคิดว่าการใช้ผงทองมาปัดขั้นตอนสุดท้ายคือเหมือนการขัดเงาเพราะรอยเส้นที่เราทาไว้จะขึ้นเงาสวยเป็นประกายขึ้นมาทันที
ทำงานเสร็จแล้ว น้องๆ ขอโชว์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ เพราะของบางอย่างก็มีค่า มีเรื่องราวและความทรงจำ จะโยนทิ้งไป เมื่อวันแตกหรือชำรุดบางครั้งก็เสียดายเนอะ … กลับมาซ่อมรอยแตกราวให้กลับมาสวยงามกันดีกว่า
นอกจากด้านบนจะมีเวิร์คช็อปงานฝีมือที่ได้รับความยอดนิยมจากคนโตเกียวแล้ว ด้านล่างก็มีขายสินค้าเหล่านั้นด้วย ก็อย่างที่บอกว่าที่นี่มีเวิร์คช็อปด้วย เราว่าเที่ยวหน้าเราจะมาทำกระเป๋าเครื่องหนังแบบนี้เอาไว้ใช้เอง
ส่วนการเดินทางนั้น ก็แสนง่ายมาก เราไปตั้งต้นที่สถานีชิบูยะ แล้วขึ้นสาย Toyoko ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน นั่งมาแป๊บเดียวก็ถึงละ ง่ายและเดินทางสะดวกขนาดนี้ ก็ลองใส่ที่นี่ไว้ในแผนท่องเที่ยวกันดูนะจ้า
นี้คือชื่อสถานีGakugei-daigaku ที่ลงมาสำหรับเดินต่อไปที่ร้านได้เลยจ้า แถวนี้เป็นแถบบ้านเรือนเก่า แต่ก็ถือว่าเป็นย่านที่คึกคักพอสมควรนะ เพราะตลอดทางมีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านขายของฝากอยู่เยอะทีเดียวเลยละ เสร็จจากการทำคินสึงิแล้วก็ลองแวะเดินเที่ยวระแวกนี้กันดูนะคะ
ร้าน makers-base (คินสึงิ Kintsugi)
ที่อยู่ | 1 Chome-1-11 Nakane, Meguro City, Tokyo 152-0031 |
---|---|
วิธีเดินทาง | การเดินทาง สามารถไปจากสถานีชิบูยะด้วย Tōkyū Tōyoko Line ลงที่ Gakugei-daigaku Station |
เวลาทำการ | 10:00〜19:30 น. |
Website | makers-base |
สรุป
วันนี้ได้ลองทำ คินสึงิ งานศิลปะญี่ปุ่นที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน สิ่งดีๆที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ เป็นการเก็บความความทรงจำที่มีค่าในอีกแบบหนึ่งถึงแม้ว่าการเวลาหรือการใช้งานจะทำให้มันเสียหายไป แต่อย่างน้อยการซ่อมให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง อาจไม่ต่างจากการเดินทางเพื่อซ่อมจิตใจของเราเมื่อเหนื่อยล้าด้วยการออกท่องเที่ยวในทริปดีๆสักทริป เพื่อเก็บความรู้สึกดีๆให้ยังอยู่กับเราตลอดไป ก้างต้องขอขอบคุณนางแบบและนายแบบเกือบกิติมศักดิ์ คุณจอห์นพิธีกรจากNHK คุณRikichanบล็อคเกอร์ไซส์มินิ และ คุณยูมิผู้หลงรักงานฝีมือเป็นชีวิตจิตใจ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ถ้าเพื่อนๆชอบงานศิลปะของญี่ปุ่น อยากให้ลองมาทำดูสักครั้งนะคะ แล้วเจอกันบทความหน้า บายจ้า~~~chillchill-trip.com