ก่อนไปเที่ยวญี่ปุ่น หรือที่อื่นๆ เชื่อว่าเพื่อนหลายๆคนจะต้องเตรียมจัดยา ไม่ว่าจะเพื่อบรรเทาอาการที่เป็นอยู่ เป็นยาที่ใช้อยู่แล้ว หรืออาจเป็นยาที่กันเหนียวเมื่อคุณเกิดป่วยไข้ในต่างแดนจะได้ไม่เป็นปัญหา แต่อย่างไรก็ตามเราควรศึกษาข้อกำหนดของประเทศปลายทาง ยาห้ามเข้า ญี่ปุ่น ก็เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาไว้ วันนี้เราจึงขอนำข้อมูลต่างที่เกี่ยวกับการพกยาไปที่ประเทศญี่ปุ่น มาฝากเพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมตัว
ข่าวดีก็คือยาต้องห้ามที่นำเข้าญี่ปุ่นนั้นไม่มีขึ้นทะเบียนในประเทศไทย นั่นหมายความว่ายาที่ซื้อในไทยส่วนมากคุณสามารถพกไปได้อย่างมั่นใจ อย่างไรก็ตามการพกยาใดๆ เข้าประเทศญี่ปุ่นก็มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
ยาห้ามเข้า ญี่ปุ่น แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 กลุ่มการออกฤทธิ์ของยา โดยมี 11 ชนิด ดังต่อไปนี้
ยาในกลุ่มช่วยบรรเทาหวัด แก้แพ้ ลดน้ำมูก แก้ปวดไซนัส จำนวน 7 ชนิด คือ
1. TYLENOL COLD
2. SUDAFED
3. ADVIL COLD & SINUS
4. DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”
5. DRISTAN SINUS
6. DRIXORAL SINUS
ซูโดอีเฟดรีน คือสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด โดยทั่วไปยาที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสม มีการใช้ในประเทศไทยภายใต้การควบคุมกำกับในโรงพยาบาล ดังนั้นต้องตรวจเช็คยาของคุณว่าไม่มีส่วนผสมดังกล่าว เพราะแม้ไม่ได้ใช้ชื่อตามที่แจ้ง ก็ไม่สามารถนำเข้าญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือ ยาแก้หวัดซึ่งสูตรส่วนใหญ่จะสารออกมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพราะส่วนมากประเทศต่างๆจะห้ามนำยาที่มีส่วนผสมของสารที่กระตุ้นระบบประสาทเข้าประเทศ
จำนวน 3 ชนิด คือ
1. NYQUIL
2. NYQUIL LIQUICAPS
3. VICKS INHALER
จำนวน 1 ชนิด คือ
1. LOMOTIL
คือสารไดเฟนอกไซเลต จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 ซึ่งยามีการยกเลิกการขึ้นทะเบียนแล้วแต่อาจยังคงเหลือในระบบ จึงต้องระวังการนำยาออกนอกประเทศ ยาชื่ออื่นที่มีสารนี้ก็ไม่ได้รับอนุญาตเข้าญี่ปุ่นเช่นกัน
ใครที่มียาในลิสต์นี้อยู่ในครอบครอง ขอแนะนำให้เคลียร์ออกจากกระเป๋าก่อนเดินทางไปญี่ปุ่น เพราะอาจโดนควบคุมตัวและโดนดำเนินการทางกฏหมาย ทริปหรรษากร่อยแย่ สำหรับใครที่อยากรู้ข้อมูลของ ยาที่ซื้อได้ที่ญี่ปุ่น ลองดูบทความนี้สิ
อัพเดทอันดับ 10 ยาญี่ปุ่นน่าซื้อ บรรเทาหลากอาการ ซื้อฝากโดนใจ
เดินทางกันมาถึงครึ่งปีแล้ววันนี้ Chill Chill Japan ขออัพเดทอันดับ ยาญี่ปุ่นน่าซื้อ และเวชภัณฑ์ชิคๆ ใช้ดี เป็นของฝากก็ถูกใจ ให้แฟนๆ ได้รู้จักก่อนไปญี่ปุ่น เพราะที่ดรักสโตร์ไม่ได้มีดีแค่เครื่องสำอาง เพราะยาและเวชภัณฑ์ของญี่ปุ่นขอบอกว่าตอบโจทย์ไม่แพ้ใครเลยทีเดียว
ติดตามเรื่องราวการท่องเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเองที่น่าสนใจในบทความหน้า
ขอบคุณข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำนครซีแอทเทิล
Blogger : Gashapond
สาว(ไม่)น้อย ผู้รักใน การถ่ายภาพ ท่องเที่ยว ชิมของอร่อย ซอฟต์ครีม และบ้าเครื่องสำอางชนิดเสพติด ขอทำหน้าที่พาคุณเที่ยว หาโปรเด็ด ให้ทริปญี่ปุ่นของคุณสนุกสบาย ??
506 Posts
จากนาริตะไปโตเกียว รวมวิธีเดินทางสุดสะดวก เข้าเมืองชิลๆ
รวมมิตรวิธีการเดินทาง จากนาริตะไปโตเกียว ที่รู้ไว้ก่อนออกเดินทางแล้วรับรองไม่ม...
เที่ยวญี่ปุ่น 2022 เปิดเงื่อนไข วิธีการขอวีซ่า ไกด์ไลน์เที่ยวจัดเต็ม
เปิดข้อมูลการ เที่ยวญี่ปุ่น 2022 / 2565 เปิดทุกเกณฑ์การท่องเที่ยวแบบจัดเต็ม กา...
นั่งชินคันเซ็นคุ้มๆ จากโตเกียวไปโอซาก้า เดินทางง่ายแค่ใช้ JR PASS
เที่ยวให้ทั่วโตเกียวแล้วไปต่อโอซาก้า เพราะเรามีแผนการเดินทางสุดคุ้มจากโตเกียวไ...
โอคาวาโซ – Ookawaso ไอสึวาคามัตสึ ตามรอยดาบพิฆาตอสูร! โรงแรมหรูสไตล์ญี่ปุ่น
โรงแรมโอคาวาโซ (Okawaso : 大川荘) โรงแรมหรูในฝันที่ใครๆก็คิดว่าจะต้องมาพักสักครั้...
10 ที่เที่ยวฟูจิ เปิดพิกัดที่เที่ยวแบบใหม่ ไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ
Kitaguchi-hongu Fuji Sengen Shrine ศาลเจ้าที่อุดมไปด้วยพลังงานของขุนเขา คิตะกุ...
เที่ยวโอซาก้า เดือนไหนดี อากาศเป็นไง ครบข้อมูลเตรียมเที่ยวเลย
10/03/2021 | Japan
รีวิว ตึกม่วง ทาเคยะ ปิดกี่โมง มีกี่สาขา ซื้ออะไรดี คำตอบครบจบในที่เดียว
08/04/2020 | Tokyo
ตลาดคุโรมง เที่ยวตลาดปลาโอซาก้า กับ 9 ร้านเด็ด กิน ช้อป ฟินสุดใจ
11/11/2021 | Japan
ร้านอาหาร ชินจูกุ 10 พิกัดอร่อยในย่านเด็ดที่ต้องลอง
07/01/2019 | Japan
เหล้าบ๊วยญี่ปุ่น 7 อันดับ รสเยี่ยม ที่ต้องห้ามพลาด
23/02/2017 | Japan
Police
110
Ambulance
119
AMDA International Medical Information Center
03-5285-8088
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
03-5789-2449
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า
06-6262-9226-7
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ
092-686-8775
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุ๊กกี้ของเราผ่านทาง นโยบายความเป็นส่วนตัว