จาก กรณี คนหายที่ญี่ปุ่น ที่เพิ่งเป็นข่าวโด่งดัง หลายคนก็เริ่มตระหนักถึงปัญหา วันนี้เราขอนำเสนอวิธีรับมือและแก้ปัญหา พร้อมข้อมูลที่เป็นประโยชน์หากเกิดเหตุฉุกเฉิน
คนหายที่ญี่ปุ่น ต้องทำอย่างไร
เมื่อมีการเดินทางท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่น สมาชิกในทริปควรตรวจเช็คสมาชิกในกลุ่มเสมอ เมื่อใครจะไปไหน ควรบอกกันก่อนให้สมาชิกทราบรายละเอียด กรณีเดินทางคนเดียว ควรให้ข้อมูลแผนการเดินทางกับผู้ที่อยู่ในไทย อาจเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวและหมั่นติดต่อเพื่อบอกพิกัดที่อยู่เสมอ
แต่หากเกิดกรณี คนหายที่ญี่ปุ่น ขึ้นแล้วก็ต้องตั้งสติ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี
กรณีมีสมาชิกในกลุ่มยังอยู่ญี่ปุ่น
1. ตรวจสอบว่าผู้ที่หายไปมีทรัพย์สินส่วนตัวติดไปหรือไม่
ผู้ร่วมเดินทาง ต้องตรวจสอบทรัพย์สินส่วนตัวของสมาชิกทริป อาทิ พาสปอร์ต กระเป๋าเงิน โทรศัพท์มือถือ หากผู้สูญหายขาดการติดต่อโดยไม่ได้นำของจำเป็นเหล่านี้ติดตัวไป อาจเป็นไปได้ว่าเกิดเรื่องไม่คาดฝัน
2. เจอกันครั้งสุดท้ายเมื่อใด
นี่เป็นเหตุผลที่ผู้ร่วมเดินทางควรแจ้งให้กันทราบเสมอ ว่ากำลังจะไปไหน ไปทำอะไร เพื่อที่หากเกิดหายตัวไปผู้ร่วมเดินทางจะได้หาเบาะแสได้
3. ประเมินพฤติกรรม
ต้องดูว่าผู้สูญหายมีความเสี่ยงด้านใด เป็นเด็กหรือผู้สูงอายุหรือไม่ พูดภาษาอังกฤษได้หรือเปล่า มีอาการป่วย หรือมีแนวโน้มการสูญหายหรือเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ หรือมีอาการทางจิต หรือเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า
4. ประเมินเหตุจูงใจ
ดูว่าผู้สูญหายมีเหตุจูงใจอะไรหรือไม่ มีการทะเลาะกันก่อนหายไปหรือเปล่า มีความสนใจพิเศษใด มีเพื่อนคนอื่นที่อยู่ญี่ปุ่นหรือเปล่า
5. ประเมินเหตุจูงใจ
ดูว่าผู้สูญหายมีเหตุจูงใจอะไรหรือไม่ มีการทะเลาะกันก่อนหายไปหรือเปล่า มีความสนใจพิเศษใด มีเพื่อนคนอื่นที่อยู่ญี่ปุ่นหรือเปล่า
6. แจ้งความ
หากตรวจสอบทั้งหมดแล้ว เข้าข่ายว่าผู้ร่วมเดินทางสูญหายไป และยังหาไม่พบ ควรไปแจ้งความโดยขอคำแนะนำจากโรงแรม ไม่ว่าจะเป็น รายละเอียดเบาะแสคนหาย สอบถามกฏหมาย เช่น ต้องหายกี่ชั่วโมงถึงแจ้งความได้ และถ้าเป็นไปได้ขอให้ทางโรงแรมที่พักประสานเรื่องการแจ้งความ
ซึ่งถ้าคนหายที่ญี่ปุ่นสามารถแจ้งความได้ทันที แต่จะมีการระบุว่าเป็นคนหายเมื่อหายตัวไปครบ 24 ชั่วโมง
7. ติดต่อสถานทูต ทางการไทย
ติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานไทยตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
- สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว 03-5789-2433
- สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา 06-6262-9226,9227 (เวลารับโทรศัพท์ 15.30 น. – 17.30 น.)
- สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ 092-686-8775
นอกจากนี้ยังมีองค์ NGO อีกหลายแห่งที่ให้ความช่วยเหลือคนไทย สามารถดูไก้จากลิงค์นี้
องค์กร NGO ญี่ปุ่นที่ให้ความช่วยเหลือคนไทย
กรณีญาติสูญหายในญี่ปุ่น
หากญาติที่อยู่ในประเทศไทยขาดการติดต่อ อย่างผิดปกติ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจาก กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ หรือ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 0-2575-1047 ถึง 51
ควรมีผู้ประสานงานหลักทางญี่ปุ่น อาจเป็นญาติ เพื่อน หัวหน้ากรุ๊ปทัวร์ (แล้วแต่กรณี) โดยควรมีข้อมูลการติดต่อเพื่อประสานงาน
กรณีที่ผู้ประสานงาน หรือใครก็ตามต้องการช่วยเหลือทำประกาศคนหาย ทางสื่อโซเชียล และช่องทางอื่น ต้องได้รับความยินยอมจากญาติของผู้สูญหาย และหารือกับตำรวจท้องที่ให้อยู่ในขอบเขต
กรณีที่ญาติ หรือผู้ประสานงานมีความจำเป็นต้องกลับไทยก่อนหาผู้สูญหายพบ ควรขอชื่อและช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบคดี เพื่อจะกลับมาติดตามเรื่องผ่านสถานทูตและกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
ข้อมูลการติดต่อที่สำคัญเมื่อเกิดการสูญหาย
- สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว โทร. 03-5789-2433 แฟ็กซ์ 03 5789 2428
ที่อยู่ : 3-14-6 Kami-Osaki, Shinagawa-ku, Tokyo 141-0021
สถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุด คือ สถานีเมกุโระ (สายรถไฟ JR Yamanote (ทางออกด้านทิศตะวันออก) และสายรถไฟใต้ดิน Namboku)
เว็บไซต์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
แฟนเพจ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
แฟกซ์ 06 6262 9228
ที่อยู่ Bangkok Bank Bldg., 1-9-16 Kyutaro-machi, Chuo-ku, Osaka 541-0056
เว็บไซต์ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
ที่อยู่
3rd Floor JR JP Hakata Building 8-1, Hakataeki Chuogai, Hakata-ku, Fukuoka City, Fukuoka 812-0012
โทร. 05 2963 3451 แฟ็กซ์ 05 2963 3226
ที่อยู่
3-6-29 Nishiki, Naka-ku, Nagoya-Shi, Aichi-ken 460-0003
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ นาโกยา
- สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ นาฮา (Royal Thai Honorary Consulate, Okinawa )
โทร. 09 8885 1534 แฟ็กซ์ 09 8885 1534
ที่อยู่
1-35 Shurisakiyama-cho, Naha City, Okinawa 903-0814 - สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ซัปโปโร (Royal Thai Honorary Consulate, Sapporo) โทร. 011 251 3212
ที่อยู่ 2-2-1 Kitaichijonishi, Chuo-ku, Sapporo-city Hokkaido 060-0001
ข้อแนะนำป้องกันเด็ก ผู้สูงอายุ และคนกลุ่มเสียง สูญหาย
หากในกลุ่มของท่านมีผู้มีเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการพลัดหลง ควรดูแลเป็นพิเศษ และพยายามทิ้งข้อมูลสำคัญเช่นการติดต่อไว้ให้มากที่สุด เช่น ใส่ไว้ในกระเป๋าห้อยคอ หรือทำแท็กเล็กๆ คล้องคอ หรือข้อมือ มีข้อมูลการติดต่อเอาไว้ เผื่อมีผู้พบเห็น จะได้ติดต่อได้ถูก
ตัวอย่างข้อความ
私は….. (ชื่อ)です。
タイ人です。(เป็นคนไทย)
…….(เบอร์ติดต่อ)を連絡してください。
หรือหลายคนอาจทำเป็นคิวอาร์โค๊ดระบุรายละเอียดต่างๆ ติดตัวเด็กและผู้สูงอายุ (ควรเป็นภาษาอังกฤษ หรือญี่ปุ่นถ้าทำได้) เท่านี้ก็เป็นการช่วยตามหาได้ดีกรณีพลัดหลง ซึ่งคนที่พบก็จะสามารถรู้ได้ว่าเป็นใคร
ข้อสรุป
เหตุฉุกเฉินมักเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด แต่ถ้าเราป้องกันไว้ และเตรียมการพร้อมรับปัญหา เมื่อเกิดเหตุก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที