Cr: shutterstock.com
ประเด็นร้อนตอนนี้คงหนีไม่พ้นมาตรการที่กรมศุลกากรจะเพิ่มเครื่องแสกนเพื่อตรวจสอบให้ขึ้นตอนการนำของเข้าประเทศรัดกุมมากขึ้น เพื่อนๆ ที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นอาจกังวลใจ ว่าต้องเสียภาษีไหม เดินเข้าช่องไหนดี วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ ภาษีศุลกากรขาเข้า มาฝากกัน
สินค้าราคาไม่เกิน 20,000 อาจต้องเสียภาษีจริงหรือ
เร็วๆ นี้ มีข่าวว่ามีคนที่โดนเก็บภาษีทั้งที่ซื้อของมูลค่าไม่ถึง 20,000 จึงอาจมีความกังวลว่าจะโดนเก็บภาษี แต่ในความจริงการที่หลายคนโดนเก็บภาษีทั้งที่สินค้ามูลค่าไม่ถึง อาจเป็นเพราะเจตนาส่อถึงการนำมาขาย หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น ของแบบเดียวกัน จำนวนมากๆ เช่น โฟมล้างหน้าแบบเดียวกันหนึ่งโหล และมีของอีกหลายอย่าง อย่างละหลายชิ้น เมื่อเจ้าหน้าที่สุ่มเปิดกระเป๋าก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ดีส่วนมากคนที่ซื้อของมาใช้เอง มักจะไม่โดนเก็บภาษีแต่อย่างใด
เข้าช่องเขียวหรือช่องแดง
Cr: shutterstock.com
หากคุณเลือกเข้าช่องเขียว หรือ ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (Nothing to declare) นั่นหมายความว่าต้องมั่นใจว่าตนเองไม่มีของเสียภาษี ไม่มีของต้องห้าม หรือของต้องกำกัด (กำกัด มีความหมายว่า จำกัดให้แคบเข้า cr.สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) ให้เดินผ่านช่องตรวจเขียว
รายละเอียดเพิ่มเติมของต้องห้ามและ ของต้องกำกัด
ของที่ได้รับยกเว้นอากร
หมายเหตุ : การนำบุหรี่ ยาสูบ หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกินปริมาณที่กำหนด โปรดหย่อนใส่กล่องที่กรมศุลกากรจัดไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดี
ซึ่งการเดินเข้าช่องเขียว อาจมีการสุ่มตรวจกระเป๋า เรียกว่าระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หากเจ้าหน้าตรวจพบว่ามีของเกินกำหนด วินิจฉัยว่ามีเกณฑ์ต้องเสียภาษีที่ช่องนี้ การต่อรองต่างๆ จะน้อยกว่าการเดินเข้าช่องแดง ดังนั้นหากรู้ตัวว่าอยู่ในเกณฑ์ต้องสำแดง การเดินเข้าช่องแดงอาจเหมาะกว่า นั่นรวมถึงคนที่ต้องการหิ้วของมาขายด้วย
เข้าช่องแดง เสียภาษีเยอะไหม
หากของที่นำเข้ามามีมูลค่าเกิน 20,000 บาทหรือเป็นของที่มีลักษณะเชิงพาณิชย์แม้จะมีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ของดังกล่าวนับเป็นของต้องเสียภาษีอากร ควรเข้าไปที่ช่องตรวจมีของต้องสำแดง (ช่องแดง) และหากของนั้นเป็นของต้องกำกัด ของนั้นต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
รายละเอียดเพิ่มเติมของต้องห้ามและ ของต้องกำกัด
โดยของต้องกำกัดที่คนไทยมักซื้อติดตัวมา คือ อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริม ซึ่งแม้ว่าราคาไม่ถึงแต่หากตรวจเจอว่ามีจำนวนมาก หรือฉลากไม่แน่ชัด อาจต้องจ่ายภาษี ได้
อัตราภาษีอากรนำเข้า
การคำนวนต้องนำเอาภาษี รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยมีวิธีการคำนวณคือ
ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
(ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ= อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อย่าลืมเก็บใบเสร็จไว้ให้ดี เพื่อการประเมินที่ถูกต้อง และอย่าลืมย้ำว่าราคาเป็นเยน อย่าให้เจ้าหน้าที่เผลอคำนวนเป็นเงินบาท ไม่งั้นแพงเกินจริงเลยล่ะ
สำหรับการที่เราเข้าช่องต้องสำแดง มักต่อรองราคาได้มากกว่าช่องเขียว
เก็บใบเสร็จไว้ให้ดี
Cr: shutterstock.com
ไม่ว่าจะเข้าช่องไหน สิ่งสำคัญคือการเก็บใบเสร็จ หลักฐานการซื้อขายให้ดี รายการสำคัญอาจต้องเขียนกำกับเอาไว้ เมื่อต้องโดนเรียกเก็บภาษีจะได้จ่ายในราคาที่ถูกต้อง เพราะของบางอย่างอย่างดูราคาแพง แต่แท้จริงอาจถูกกว่านั้น หากต้องคิดตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่อัตราภาษีอาจสูงเกินไป
กรณีของที่เรานำออกนอกประเทศที่มีราคา เช่น กล้อง โทรศัพท์มือถือ ถ้าเป็นไปได้ควรถ่ายรูปใบเสร็จหลักฐานการซื้อเอาไว้ เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่นำไปประเมินราคาร่วม
สิ่งที่คนฝากซื้อต้องรู้
Cr: shutterstock.com
สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญของทริป คือการท่องเที่ยวให้สนุก ของที่ซื้อถ้าเป็นของที่เราต้องการจริงๆ แม้ว่าอาจต้องจ่ายภาษี แต่บางครั้งก็อาจคุ้มค่า และหากเจตนาเรานำไปใช้เอง เจ้าหน้าที่มักจะเข้าใจ สำหรับคนที่มีคนฝากซื้อของเยอะๆ อาจจะต้องแจ้งความเสี่ยงเรื่องภาษีกับคนที่ฝาก ว่าราคาอาจต้องคำนวนภาษีไปด้วย กรณีที่โดนเรียกเก็บ ให้ทำความเข้าใจว่าราคาอาจเพิ่มขึ้น
ข้อสรุป
พอรู้แบบนี้ การผ่านศุลกากรก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะถ้าไม่ซื้อของมากเกินไปจนเจตนาดูเหมือนจะนำมาขาย อยู่ในราคาที่กำหนด หรือถ้ารู้ตัวว่าอยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี เข้าไปสำแดงแต่แรก ภาษีศุลกากรขาเข้า ก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด สำหรับใครที่มีคำถามเพิ่มเติม สามารถเข้าไปหาข้อมูลจากกรมศุลกากรได้เลย
ภาษี ศุลกากร ขาเข้า
ข้อมูล รายละเอียดเพิ่มเติมจากกรมศุลกากร