กรอกใบตม. ญี่ปุ่น ใบศุลกากร ง่ายๆ พร้อมตัวอย่างอัพเดท

30/09/2017 (อัพเดทเมื่อ 28/05/2021)
หลายคนที่กำลังเตรียมเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นเองครั้งแรกอาจมีคำถามเดี่ยวกับการ กรอกใบตม. ญี่ปุ่น และเอกสารที่จะต้องใช้ในกระบวนการเข้าเมืองญี่ปุ่น ว่ามีเอกสารอะไรบ้าง วันนี้เราจึงจัดเต็มข้อมูลให้คุณ ทั้งหน้าตาของใบตม. ญี่ปุ่น ใบศุลกากร พร้อมตัวอย่างการกรอกเอกสาร และคำแปลภาษาไทย ว่าแต่ละช่องต้องกรอกอะไรลงไปบ้าง ข้อมูลอัพเดทสำหรับปีที่สุด จัดเต็ม ต้องแชร์

กรอกใบตม. ญี่ปุ่น และเอกสารอื่นๆ เมื่อเดินทางไปญี่ปุ่น

กรอกใบตม. ญี่ปุ่นCr: immi-moj.go.jp

การกรอกเอกสารการเข้าเมืองญี่ปุ่นหรือ กรอกใบตม. ญี่ปุ่น ที่จำเป็นต้องกรอกแบ่งออกเป็น 2 ใบ คือใบ ตม. (Embarkation – Disembarkation Card) และใบศุลกากร (Custom Declaration) ซึ่งเอกสารทั้งสองอย่างมีภาษาอังกฤษประกอบทำให้กรอกไม่ยาก เพียงแค่เราต้องมีข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของเราก็หายห่วง มาดูกันดีกว่าว่าเอกสารแต่ละแบบเป็นอย่างไรบ้าง

เอกสารตรวจคนเข้าเมือง หรือใบ ตม. (Disembarkation Card)

กรอกใบตม. ญี่ปุ่น

กรอกใบตม. ญี่ปุ่น

ในส่วนของเอกสารใบแรกที่ต้องกรอกคือใบตรวจคนเข้าเมืองหรือที่เราเรียกกันติดปากว่าใบ ตม. (Disembarkation Card) โดยปกติลูกเรือจะแจกเอกสารให้บนเครื่องบิน แต่ถ้าไม่ได้รับก็สามารถไปกรอกที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ก่อนผ่านด่านได้ แต่ทางที่ดีกรอกบนเครื่องบินดีที่สุด

จากตัวอย่างภาพใบ ใบ ตม. แบบล่าสุดที่ใช้มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2016 แสดงข้อมูลที่ต้องกรอกอาทิ ชื่อ จังหวัด ประเทศที่เราอยู่ เที่ยวบิน วัตถุประสงค์ของการเดินทาง เป็นต้น โดยปกติมักกรอกแต่ด้านหน้า เพราะถ้ากรอกด้านหลังนั้นหมายถึงว่าคุณเคยมีประวัติอาชญากรรมอะไรทำนองนี้

หมายเหตุ:
ที่อยู่ในญี่ปุ่นก็คือที่อยู่โรงแรมหรือที่พัก ฉะนั้นควรจดเอาไว้ด้วย
ในส่วนของเบอร์โทรแทนเลข 0 ด้วย +81 แล้วตามด้วยหมายเลขโทรศัพท์ตามปกติเลยจ้า

กรอกเอกสารตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนความ ยังเหลืออีกหนึ่ง นั่นคือ

ใบศุลกากร (Customs Declaration)

เอกสารใบนี้จะได้รับแจดพร้อมกับฝบ ตม. เป็นการสอบถามข้อมูลเพื่อตรวจสอบสินค้าที่เรานำประเทศเข้าญี่ปุ่น ว่ามีสิ่งของต้องห้าม หรือมีปริมาณเกินกำหนดหรือไม่ เอกสารนี้มีรายละเอียดที่ต้องกรอกค่อนข้างมาก ต้องกรอกให้ถูกต้อง กรณีมากันเป็นกลุ่มให้กรอกกลุ่มละ 1 ใบเท่านั้น เช่นครอบครัวมาด้วยกัน 3 คน ก็กรอกเพียงใบเดียว ใช้ยื่นที่ด่านศุลกากรหลังจากผ่านด่าน ตม.มาแล้ว

ใบศุลกากรมีทั้งหมด 2 หน้า หากไม่ได้นำของต้องห้ามเข้ามาก็จะกรอกหน้า A เพียงหน้าเดียว

รายละเอียดที่ต้องกรอกในหน้า A

1. หมายเลขเที่ยวบิน
2. เมืองที่ขึ้นเครื่องมา เช่น Bangkok
3. วันที่มาถึงญี่ปุ่น (กรณีบินข้ามคืนให้ดูดีๆ)
4. ชื่อ
5. ที่อยู่ในญี่ปุ่น (ใส่โรงแรมหรือที่พักลงไป เลือกโรงแรมที่อยู่นานที่สุด) และเบอร์โทรศัพท์
6. สัญชาติ
7. อาชีพ
เช่น ถ้าเป็นลูกจ้างให้กรอก employee /นักเรียนตอบ student/ชาวนา สาวสวน farmer/Business Owners เจ้าของธุรกิจ
8. วันเกิด : กรอกเรียงในรูปแบบ ปี ค.ศ./เดือน/วัน เช่น ถ้าเกิด 23 สิงหาคม 2534 ให้กรอก 1991/08/23
9. หมายเลข Passport
10. จำนวนคนที่มาด้วยกัน ให้กรอกจำนวนในช่องดังต่อไปนี้
-Adult คือ ผู้ใหญ่
-Under คือ 20 years old ต่ำกว่า 20 ปี
-Under คือ 6 years old ต่ำกว่า 6 ปี
หมายเหตุ ใบ ตม กรอกทุกคน แต่ใบศุลกากร หากไปเป็นกลุ่ม กรอกเพียงใบเดียวเช่น ถ้าไปกัน 4 คน ให้กรอก 3 คือจำนวนผุ้ติดตาม ที่จุดนี้ ตามอายุผู้ติดตาม
11. คุณนำสิ่งของเหล่านี้เข้าญี่ปุ่นมาหรือเปล่า
(1) สินค้าต้องห้าม
(2) ทองคำแท่งหรือทองรูปพรรณ
(3)สินค้า duty-free เกินจำนวนที่อนุญาต
(4) สินค้าในเชิงพาณิชย์ หรือ ตัวอย่าง
(5) สินค้าที่มีคนต้องการให้นำเข้ามา
ถ้าไม่มีให้ติ๊ก No ทั้งหมด ถ้าตอบใช่ (Yes) แม้แต่ข้อเดียว ให้ไปกรอกต่อหน้า B
12. เงินสด, เช็ค เกินกว่า 1,000,000 เยน ถ้าตอบใช่ (Yes) ต้องแสดงหลักฐานที่มาของเงินแก่ศุลกากร
13. มีสิ่งของที่จะส่งตามมาทีหลังหรือไม่
14. ยืนยันว่าข้อมูลด้านบนถูกต้อง พร้อมเซ็นชื่อ

โดยทั่วไปมักกรอกกันแค่หน้านี้

หน้า B
15. กรณีมีสิ่งของต้องห้ามหรือเกินกำหนดกรอกตรงนี้
16./17./18 รายละเอียดของต้องห้าม และสินค้าควบคุม

เอกสารทั้งสองนั้นจะต้องกรอกพร้อมกัน ใบแรกยื่นแก่ตม. อีกใบส่งให้ด่านศุลกากร เมื่อกรอกข้อมูลถูกต้องตามสมควร รับรองว่าไม่มีปัญหาหรอก

ข้อสรุป

เป็นไงล่ะ บอกแล้วว่ากรอกง่ายสุดๆ ไปเลย เท่านี้ก็ผ่านไปเที่ยวได้เก๋ๆ แล้ว บทความต่อไปเราจะนำเสนอข้อมูลการผ่านตม. อย่าลืมติดตามนะคะ

Gashapond

Blogger : Gashapond

สาว(ไม่)น้อย ผู้รักใน การถ่ายภาพ ท่องเที่ยว ชิมของอร่อย ซอฟต์ครีม และบ้าเครื่องสำอางชนิดเสพติด ขอทำหน้าที่พาคุณเที่ยว หาโปรเด็ด ให้ทริปญี่ปุ่นของคุณสนุกสบาย ??

504 Posts

CCJ Hotel Search

สถานที่เที่ยว

| Feature

กรณีฉุกเฉิน

| Emergency
  • Police

    110

  • Ambulance

    119

  • AMDA International Medical Information Center

    03-6233-9266

  • สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว

    090-4435-7812

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

    090-1895-0987

  • สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ

    090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515