Nittaiji Temple (วัดนิตไตจิ/覚王山日泰寺) หรือ Kakuozan Nittaiji สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 สิ่งที่ทำให้วัดนี้ไม่เหมือนใครอย่างแรก คือ วัดนี้ถือเป็นศูนย์รวมของทุกนิกายในญี่ปุ่นเป็นวัดแรกและวัดเดียว จึงไม่ขึ้นกับศาสนาพุทธนิกายใด ทว่าจะมีการหมุนเวียนเข้ามาดูแลวัดของแต่ละนิกาย ซึ่งไม่ได้มีแค่เรื่องนี้เท่านั้น เพราะยังมีเรื่องราวอีกมากที่คนไทยอย่างเราต้องแปลกใจ และ Unseen in japan อย่างแน่นอน
บริเวณของวัดนิตไตจิ ครอบคลุมถึงสองฟากถนนโดยแบ่งออกเป็นฝั่ง hondou กับ houantou reidou
ฝั่ง Houantou Reidou
ที่ต้องกล่าวในส่วนของ Houantou Reidou ซึ่งอยู่อีกฝั่งถนนของวัดก่อนเพราะ ฝั่งนี้มักถูกละเลยจากนักท่องเที่ยว ทั้งที่นี่แหละเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัดนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้เพื่อเป็นมิ่งขวัญของชาวพุทธในญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2443 นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระพุทธรูปสำริดอายุกว่าหนึ่งพันปีให้ด้วย
หลังจากได้รับพระราชทานของสำคัญถึงสองอย่าง ญี่ปุ่นจึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขึ้นในเมืองนาโกย่า และตั้งชื่อวัดนี้ว่า ‘Nittaiji’ ซึ่งคำว่า ‘Ni’ มาจากคำว่า Nihon (Japan) ‘TAi’ มาจาก คำว่า Thailand และ ‘Ji’ แปลว่า Temple หรือวัด (เดิมจึงชื่อวัดนิตเซนจิเพราะสมัยนั้นประเทศเราชื่อสยาม)
ซึ่งในฝั่ง houantou reidou คือที่ตั้งของสถูปหินแกรนิตสูงกว่า 15 เมตร ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้มาเยี่ยมชมวัดนี้ก็อย่าลืมแวะมาสักการะ บรมสารีริกธาตุ
Cr: หนังสือ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2506 โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง
เมื่อครั้งเสด็จฯเยือนวัดนิตไตจิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้สักการะ บรมสารีริกธาตุ
ดังนั้นในฝั่งนี้จึงเป็นสถานที่ซึ่งห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง นอกจากนี้ยังมีความร่มรื่น สวยงามและสถาปัตยกรรมตามศาสนาอื่นๆ ให้ชมด้วย
ฝั่ง hondou
สำหรับในฝั่ง hondou จัดเป็นไฮไลต์ของวัดนิตไตจิ เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นส่วนที่ มีหออนุเสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งที่หน้าอนุเสาวรีย์มีต้นไม้ที่ปลูกโดยในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระราชินีเมื่อปี พ.ศ. 2506
ซึ่งมีการเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย องค์ประธานในพิธี คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร(ในขณะนั้น) เมื่อ พ.ศ.2530
ภายในอุโบสถของวัดมีพระศากยะมุนีประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ที่นี่ ซึ่งสวยงามแปลกตาเมื่อเห็นอยู่ในวัดญี่ปุ่น โดยได้รับ พระราชทานจาก รัชกาลที่ 9 พร้อมทั้งได้พระราชทานป้ายจารึก พระพุทธศากยมุนี ใช้พระปรมาภิไธยย่อ จปร. และ ภปร. บนป้ายจารึก ในปี พ.ศ.2532 รูปแบบสถาปัตยกรรมของวัดจะเป็นแบบร่วมสมัย แม้ว่าภายนอกของ อาคารต่างๆ เป็นศิลปะสไตล์ญี่ปุ่น ทว่าภายในอาคารมีการผสานความเป็นไทย
ยังมีหอระฆังขนาดใหญ่ใช้พระปรมาภิไธยย่อ จปร. และ ภปร. และคำว่าพระพุทธศากยมุนี สลักไว้เช่นเดียวกัน
เจดีย์ห้าชั้นสถาปัตยกรรมอันงดงามในแบบญี่ปุ่น
ทวารบาลของที่นี่แต่งตัวคล้ายพระสงฑ์ไทย ซึ่งพระที่นี่จะแต่งตัวอีกแบบนึง
ในวันที่ 21 ของทุกเดือนจะมีการจัดงานถนนคนเดินที่บริเวณถนนทางเข้าวัด และวันที่ 23 ตุลาคม จะมีการจัดงานวันปิยมหาราชเช่นกันกับที่ประเทศไทย
Nittaiji Temple
ที่อยู่ | 1-1, Hoo-cho, Chikusa-ku, Nagoya, Aichi Pref, Japan |
---|---|
วิธีเดินทาง | นั่งรถไฟใต้ดินสาย Higashiyama line มาลงสถานี Kakuozan ใช้ทางออก 1 เดินขึ้นเขาไปเล็กน้อยแล้วเลี้ยวซ้าย จะพบกับถนนยาวเข้าสู่วัด เดินอีกประมาณ 5-10 นาที |
ราคา | เข้าชมฟรี |
โทรศัพท์ | 052-751-2121 (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น) |
Website | Nittaiji Temple |
ข้อสรุป
นับเป็นวัดญี่ปุ่นที่งดงามด้วยการผสมผสานรูปแบบทางศาสนาที่แตกต่าง อีกทั้งเป็นเป็นเหมือนจารึก บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยาวนานระหว่างไทยญี่ปุ่นที่มีมานานกว่า 100 ปี เป็นสถานที่สำคัญที่คนที่วางแผนเที่ยวนาโกย่า ต้องห้ามพลาดเชียวล่ะ
หากใครสนใจ อ่านบทความท่องเที่ยวอื่นๆ ติดตามได้ที่นี่
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
สำหรับบทความท่องเที่ยวในนาโกย่าแบบจัดเต็ม ติดตามได้ที่นี่
12 ที่เที่ยวนาโกย่า (Nagoya) ตะลอนเที่ยวแบบคูลๆ ข้อมูลแน่นๆ ไม่พลาดแน่นอน!
นาโกย่า ไม่ใช่จังหวัด แต่เมืองหนึ่งในจังหวัดกิฟุ อยู่ในภูมิภาค Chubu เป็นเมืองท่าหลักของญี่ปุ่น และเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นอีกด้วย