ตู้ฝากกระเป๋า ญี่ปุ่น เที่ยวตัวเบา ฝากง่าย สบายใจ

29/03/2016 (อัพเดทเมื่อ 31/01/2022)
แวะที่สถานีรถไฟ ยังไม่ได้เข้าที่พัก แต่อยากเที่ยวต่อ จะแบกสัมภาระ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเดินทาง หรือถุงที่เราช้อปปิ้งมาอย่างเพลิดเพลิน ไปด้วยก็ลำบากเกินไป เรามีทางออก กับบรรดา ตู้ฝากกระเป๋า ญี่ปุ่น ที่มีอยู่มากมายตามสถานีรถไฟ และพื้นที่สำคัญที่รับฝากของได้หลากหลายขนาด ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ มีทั้ง Coin Locker หรือล็อกเกอร์หยอดเหรียญ หรือจะเป็นการจ่ายเงินด้วยบัตรไอซีการ์ดสะดวกสบาย ใครอยากรู้วิธีใช้ต้องไม่พลาดเพราะเราอธิบายไว้อย่างละเอียด มาดูกันว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
Meiji Step RakuRaku Cube LP R1
Meiji Step RakuRaku Cube LP R2

Coin Locker ตู้ฝากกระเป๋า ญี่ปุ่น ลดภาระท่องเที่ยว

ตู้ฝากกระเป๋า ญี่ปุ่น

การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศนั้นแน่นอนว่านักท่องเที่ยวแต่ละคนจะต้องมีสัมภาระติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ ในขณะเดินทางด้วยเสมอ อย่างน้อย ๆ ก็เสื้อผ้าหรือไม่ก็ข้าวของที่เราได้มาตอนเดินช้อปปิ้ง

และถ้าหากเราจำต้องแบกสัมภาระเดินเที่ยวไปไกล ๆ แถมยังต้องขึ้นรถลงเรืออีกหลาย ๆ ต่อ อรรถรสในการเดินเที่ยวของเราก็อาจจะหมดไป หรือเราและเพื่อน ๆ ก็อาจหมดพลังกายที่จะไปเที่ยวตามแพลนที่วางไว้

ตัวช่วยหนึ่งที่สามารถช่วยลดภาระในเรื่อง ‘สัมภาระ’ ของเราได้อย่างดีก็คือ ล็อกเกอร์หยอดเหรียญ (コインロッカー) หรือ ตู้ฝากกระเป๋า ญี่ปุ่น ที่มีระบบปิดล็อกอย่างแน่นหนาและกระจายตัวอยู่ตามสถานีรถไฟใหญ่ ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง

Coin Locker เหมาะกับใครบ้าง

  • คนที่มีสัมภาระมากมายแต่ไม่ต้องการแบกมันไปไหนมาไหนระหว่างเดินทาง
  • นักท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถเข้าไปเช็คอินหรือฝากกระเป๋าไว้ยังโรงแรมที่จองไว้ได้
  • นักท่องเที่ยวที่ต้องแวะเที่ยวระหว่างเมืองหรือจังหวัด แต่ไม่ได้ค้างคืนในจังหวัดนั้น ๆ จึงไม่มีที่ฝากกระเป๋า
  • นักช้อปที่ไม่อยากเดินถือของไปด้วยระหว่างไปเที่ยว เดินช้อปต่อ หรือทำธุระต่าง ๆ

ตู้ฝากกระเป๋า ญี่ปุ่น

คุณสมบัติของ Coin Locker

ตู้ฝากกระเป๋า ญี่ปุ่น แบบหยอดเหรียญ นั้นจะมีขนาดและราคาที่แตกต่างกัน 3 แบบคือ แบบเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะมีไซส์แตกต่างกัน ตรวจสอบดูกันให้ดีก่อนฝากนะจ๊ะว่ากระเป๋าเดินทางหรือสัมภาระของเรามีขนาดเท่าไหร่จะใส่พอหรือเปล่า

ขนาดสูง*กว้าง*ลึกราคา
เล็ก (S)35*43*57 ซม.300 เยน/วัน
กลาง (M)57*43*57 ซม.400 เยน/วัน
ใหญ่ (L)110-117*43*57 ซม.500-600 เยน/วัน

※ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง

การฝากของใน ล็อกเกอร์หยอดเหรียญ สามารถฝากได้สูงสุด 3 วัน โดยนับเวลา 1 วัน จาก 24.00 น. ของวันที่ฝาก ไปจนถึง 24.00 น. ของอีกวันหนึ่ง เช่น เวลา 24.00 น. ของวันที่ 23 มี.ค. – 24.00 น. ของวันที่ 24 มี.ค. เพราะฉะนั้นหากเรามาเอาของตอน 24.01 น. ของวันที่ 25 มี.ค. เราก็จะต้องหยอดเงินค่าฝากของเพิ่มไปอีกหนึ่งวันไม่เช่นนั้นตู้จะเปิดไม่ออก

หากฝากของเกินกว่าเวลา 3 วันของจะถูกเก็บไว้สถานีและต้องไปเสียค่าปรับกับเจ้าหน้าที่เพื่อเอาของคืน

ข้อควรระวัง สถานีรถไฟของญี่ปุ่นแต่ละแห่งอาจไม่ได้มีตู้ Coin Locker ทุกไซส์ บางแห่งอาจมีแค่ขนาดเล็กกับกลาง และถึงแม้สถานีใหญ่ในญี่ปุ่นจะมีตู้แบบขนาดใหญ่ก็อาจจะไม่มีตู้ว่างให้ใช้บริการ

โดยทั่วไป Coin Locker ในประเทศญี่ปุ่นมี 2 แบบด้วยกัน

ตู้ฝากกระเป๋า ญี่ปุ่น

  • แบบใช้ลูกกุญแจล็อค เป็นตู้ฝากของแบบล็อกเกอร์ที่ใช้กุญแจในการเปิด-ปิดตู้และชำระเงินค่าฝากของด้วยเหรีญ 100 เยน อาจไม่มีวิธีการใช้เป็นภาษาอังกฤษแต่มีวิธีการพร้อมรูปภาพทำให้นักท่องเที่ยวพอจะเข้าใจวิธีใช้ได้โดยง่าย

    • การใช้งาน
      1. มองหาตู้ที่ว่างอยู่ (ตู้ที่ยังว่างจะมีกุญแจเสียบไว้อยู่)
      2. นำสัมภาระที่ต้องการฝากใส่ล็อกเกอร์
      3. ตรวจดูให้แน่ใจว่าใส่สัมภาระเข้าไปครบแล้วหรือยังก่อนปิดตู้ทุกครั้ง เพราะหากทำการเปิดตู้เมื่อใดระบบจะกินเงินที่หยอดไปทุกครั้ง
      4. ปิดประตูตู้
      5. หยอดเหรียญให้ครบตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายด้วยเหรียญ 100 เยน
      6. ดึงกุญแจออกเพื่อล็อคตู้
      7. เก็บกุญแจเอาไว้ และนำกลับมาใช้เปิดตู้เมื่อต้องการนำของออก

  • แบบดิจิตอล เป็นตู้ฝากของรุ่นใหม่ที่มีแผงควบคุมส่วนกลางของตู้ทำให้ไม่ต้องใช้กุญแจ ซึ่งจะใช้รหัส (PIN) ที่ได้ออกมาในรูปแบบของใบเสร็จจากตู้ในการเปิด-ปิดตู้ การชำระเงินสามารถจ่ายได้ทั้งเหรียญ 100 เยน และ IC Card ชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่น (เช่น Suica หรือ Pasmo) และสามารถเปลี่ยนเมนูใช้งานเป็นภาษาต่างประเทศได้ เช่น ภาษาอังกฤษ

  • การใช้งาน (กรณีจ่ายเงินสด)

      1. หาตู้ที่ยังว่างอยู่ (ตู้ที่ว่างจะไม่มีไปสีแดงปรากฏ)
      2. ใส่สัมภาระเข้าไปในตู้แล้วปิดประตู
      3. เลือกเปลี่ยนเมนูที่หน้าของตู้เป็นภาษาอังกฤษ หน้าจอจะโชว์รูปตู้ล็อกเกอร์ที่เราเพิ่งเอาของใส่เข้าไปหากไม่โชว์ให้เลือก ‘Put in the Bag’ แล้วพิมพ์หมายเลขของตู้
      4. เลือกวิธีชำระเงินโดยกดปุ่ม ‘Cash’
      5. ชำระเงินให้ครบตามจำนวนด้วยเหรียญ 100 เยน
      6. รับใบเสร็จที่จะมีรหัส (PIN) และเก็บรักษาเอาไว้เพื่อใช้ในการเปิดตู้เอาสัมภาระในครั้งต่อไป
      7. กรณีที่ต้องการเปิดตู้นำสัมภาระออก ให้กดที่หน้าจอ เปลี่ยนเป็นเมนูภาษาอังกฤษ แล้วเลือก ‘Take out the bag’
      8. เลือกปุ่มพิมพ์หมายเลขของตู้
      9. จากนั้นพิมพ์รหัส (PIN) ที่ปรากฏอยู่บนใบเสร็จรับเงิน
      10. ประตูจะเปิดออกและสามารถนำของออกจากตู้ได้ตามปกติ

    การใช้งาน (กรณีจ่ายด้วย IC card)

      1. หาตู้ที่ยังว่างอยู่ (ตู้ที่ว่างจะไม่มีไปสีแดงปรากฏ)
      2. ใส่สัมภาระเข้าไปในตู้แล้วปิดประตู
      3. เลือกเปลี่ยนเมนูที่หน้าของตู้เป็นภาษาอังกฤษ หน้าจอจะโชว์รูปตู้ล็อกเกอร์ที่เราเพิ่งเอาของใส่เข้าไปหากไม่โชว์ให้เลือก ‘Put in the Bag’ แล้วพิมพ์หมายเลขของตู้
      4. เลือกวิธีชำระเงิน โดยกดปุ่ม Suica (หรือบัตรประเภทอื่น ๆ)
      5. ชำระเงินตามที่กำหนด ด้วยการแตะบัตร Suica ลงที่แป้น
      6. รับใบเสร็จรับเงินที่จะมีรหัส (PIN) และเก็บรักษาเอาไว้เพื่อใช้ในการเปิดตู้เอาสัมภาระในครั้งต่อไป
      7. กรณีที่ต้องการเปิดตู้นำสัมภาระออก ให้กดที่หน้าจอ เปลี่ยนเป็นเมนูภาษาอังกฤษ แล้วเลือก ‘Take out the bag’
      8. เลือกปุ่ม Suica
      9. นำบัตร Suica แตะที่แป้น
      10. ประตูจะเปิดออกและสามารถนำของออกจากตู้ได้ตามปกติ

    คำแนะนำในการใช้ Coin Locker

    • ในการใช้บัตร IC card ชำระเงินตู้ฝากของจำเป็นต้องใช้บัตรใบเดียวกันในการเปิดเอาของคืนด้วยเช่นกัน
    • เมื่อทำการฝากของแล้วควรจดจำที่ตั้งหรือหมายเลขของตู้ที่เราฝากไว้ให้ดี (อาจถ่ายรูปเก็บไว้) เพราะในสถานีรถไฟ Coin Locker จะมีมากมายหลายเห็นและหน้าตาเหมือนกันมาก
    • หากฝากของกับ Coin Locker รุ่นเก่าจะต้องเก็บกุญแจไว้ให้ดี เพราะหากทำหายจะต้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ (อาจทำให้เสียเวลาเที่ยว) และหากใช้ตู้รุ่นใหม่ก็ควรเก็บใบเสร็จหรือจดรหัส (PIN) ที่เปรียบเสมือนกุญแจเอาไว้ให้ดีด้วยเช่นเดียวกัน

    ข้อสรุป

    การฝากของกับ Coin Locker นอกจากจะสะดวกสบายทำให้เราได้เดินตัวปลิวเที่ยวไปทั่วญี่ปุ่นแบบไม่หนักกายหนักใจแล้วยังถือว่าเป็นที่ฝากของแบบปลอดภัยที่ไว้ใจได้ไม่ต้องกลัวของหายแต่เราเองก็ต้องจำให้ดีละว่าไปฝากของไว้ที่สถานีอะไร ในตู้ไหน และอย่าลืมเผลอฝากไว้เกิน 3 วันนะ !

    และสำหรับใครที่สนใจวิธีใช้ ไอซีการ์ด อีกหนึ่งบัตรที่ใช้งานสะดวกมากในญี่ปุ่น ลองอ่านในบทความนี้

    IMAGE NAME HERE

    ถึงเวลาเรียนวิชา IC Card พร้อมสกิลเที่ยวฉลุยทั่วญี่ปุ่น

    อยากเที่ยวอย่างฉลุยใช้บัตรใบเดียวไปได้ทั่วญี่ปุ่นแล้วละก็ ขอแนะนำให้รู้จักกับ IC Card บัตรเติมเงินแสนสะดวกสบายที่ใช้ได้ทั้งเที่ยว กิน ช็อป และมีขายหลายภูมิภาคทั่วประเทศญี่ปุ่น

    Meiji Step RakuRaku Cube LP R3
    Meiji Step RakuRaku Cube LP R4
    HWA ハワ

    Blogger : HWA ハワ

    ? บล็อกเกอร์ชื่อประหลาด ติดโยเกิร์ต ตระเวนกินไอศกรีม ชอบดูหนัง รักการเดินทาง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ประเทศที่ไปกี่ครั้งควาามรู้สึกก็แตกต่างกัน จึงอยากซอกแซกไปให้ทั่ว เพราะชอบความสุขและบรรยากาศสนุก ๆ ระหว่างการเดินทาง ??

    311 Posts

    Meiji Step RakuRaku Cube LP R5

    สถานที่เที่ยว

    | Feature
    Meiji Step RakuRaku Cube LP R6

    กรณีฉุกเฉิน

    | Emergency
    • Police

      110

    • Ambulance

      119

    • AMDA International Medical Information Center

      03-6233-9266

    • สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว

      090-4435-7812

    • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า

      090-1895-0987

    • สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ

      090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515

    Meiji Step RakuRaku Cube LP R7